forwriter.com
 
ทำหนังสือให้เป็นเล่ม

 

ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และการแจ้งข้อมูล

ลิขสิทธิ์ คืออะไร
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์งานที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น โดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่างๆ
ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะสร้างสรรค์งานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น " ทรัพย์สินทางปัญญา" ประเภทหนึ่งที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย
ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินที่สามารถซื้อ ขาย โอนสิทธ์ กันได้ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจ็น จะโอนสิทธ์ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์จะมีได้ในงานต่าง ๆ 9 ประเภทคือ
1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. งานนาฏกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้
3. งานศิลปกรรม ได้แก่ งานจิตกรรม งานปติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย ภาพประกอบ แผนที่โครงสร้าง งานศิลปประยุกต์ และรวมทั้งภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
4. งานดนตรีกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับเพลง ทำนองและเนื้อร้อง หรือทำนองอย่างเดียว และรวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
5. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์
6. งานภาพยนตร์
7. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์
8. งานแพร่เสียงและภาพ เช่น งานที่นำออกเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์
ผลงานต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศีลปะ
2. รัฐธรรมนูญ และกฏหมาย
3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรมหน่วยงานของรัฐ หรือของท้องถิ่น
4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัยและรายงานของทางราชการ
5. คำแปลและการรวบรวม ตามข้อ 1-4 ซึ่งทางราชการจัดทำขึ้น

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิ์ ในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันที นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ของตนเอง โดยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่ได้ทำการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของในโอกาศต่อไป

ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์นอกจากจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานแล้ว บุคคลอื่นอาจมีสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์นั้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆ ในการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ เช่น การสร้างสรรค์งานร่วมกัน การว่าจ้างให้สร้างสรรค์งาน การโอนสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ เป็นต้น ดังนั้นผู้มีลิขสิทธิ์จะเป็นบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ต่อไปนี้
1. ผู้สร้างสรรค์งานขึ้นใหม่ ทั้งที่สร้างสรรค์งานด้วยตนเองเพียงผู้เดียว หรือผู้สร้างสรรค์งานร่วมกัน
2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงาน หรือลูกจ้าง
3. ผู้ว่าจ้าง
4. ผู้รวบรวมหรือประกอบกันเข้า
5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
6. ผู้รับโอนสิขสิทธิ์
7. ผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นคนชาติภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญากรุงเบอร์น และประเทศในภาคีสมาชิกโองการค้าโลก
8. ผู้พิมพ์โฆษณางานที่ใช้นามแฝงหรือนามปากกาที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์

การคุ้มครองลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้
1. ทำซ้ำ หรือดัดแปลง
2. การเผยแพร่ต่อสาธารณชน
3. ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ในการเช่าซื้อ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับ

อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
โดยทั่วๆ ไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีผลตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต้อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต หากแต่มีงานบางประเภทจะมีการคุ้มครองที่แตกต่างกันไป โดยสรุปดังนี้
1. ในงานทั่วไป ลิขสิทธิ์ จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรถึงแก่ความตาย
กรณีเป็นผู้สร้างสรรค์ร่วม ก็ให้นับจากผู้สร้างสรรค์คนสุดท้านถึงแก่ความตาย
กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ที่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
กรณีผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
2. งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น
3. งานที่สร้างสรรค์โดยการว่าจ้าง หรือตามคำสั่ง ให้มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น
4. งานศิลปะประยุกต์ ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น
กรณีที่ได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีงานศิลปประยุกต์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก

ประโยชน์ของลิขสิทธิ์
1. ประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์ และมีสิทธิ์แต่เพี่ยวผู้เดี่ยวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือผลงานตามข้อใดข้อหนึ่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ ทำซ้ำ หรือดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ของตนทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
2. ประโยชน์ของประชาชนหรือผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าทางวรรณกรรมและศีลปกรรมออกสู่ตลาดให้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ผลงานที่มีคุณภาพ

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิ์ที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้รับทำให้มีการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของลิขสิทธิ์ นอกจากนี้แล้วยังเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ต้องการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ สามารถตรวจค้นเพื่อประโยชน์ในการติดต่อธุรกิจกับเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้แจ้งได้รับสิทธิ์ในผลงานนั้น หรือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์จะไม่ก่อให้เกิดสิทธิ์ใดๆ เพิ่มขึ้นจากสิทธิ์ที่มีอยู่เดิมของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง

เอกสารและหลักฐานประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
1 แบบพิมพ์คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ จำนวน 2 ชุด ซึ่งผู้แจ้งจะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เช่น ประเภทของงาน ชื่อผู้แจ้ง ชื่อผู้สร้างสรรค์ สถานที่ติดต่อ ลักษณะของงาน วิธีการสร้างสรรค์ เป็นต้น
2 หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
3 ผลงานลิขสิทธิ์ที่สร้างสรรค์ จำนวน 1 ชุด

สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
1 การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทุกจังกวัด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีภูมิลำเนาอยู่
และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
2 การตรวจค้นข้อมูลลิขสิทธิ์ ตรวจค้นได้ที่ส่วนจัดการงานลิขสิทธ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

ที่มา   http://www.moc.go.th/opscenter/cr/lic1.htm



ห้องมือใหม่
ห้องสร้างนักเขียน
การเขียนนวนิยายต่าง ๆ
Idea bank
ฝึกเขียนเรื่อง

ร้านหนังสือ

 

ฟรี E-book
 
 



 

http://www.forwriter.com . © 2005 All rights reserved.