forwriter.com
วิธีเรียนการเขียนด้วยตัวเอง ห้องมือใหม่
๑. วิธีเรียนการเขียนด้วยตัวเอง
๒. การสร้างกลุ่มเพื่อวิจารณ์

 

 

๑. วิธีเรียนการเขียนด้วยตัวเอง

๑. อ่าน อ่านมาก ๆ ทั้งในแนวที่ต้องการเขียนและนอกแนวที่จะเขียน อ่านทั้งนวนิยายของคนอื่นเขียนด้วยไม่ต้องกังวลหรอกว่าอ่านนวนิยาย
คนอื่นแล้ว มันจะมีอิทธิพลต่องานเขียนของคุณ คนเราชอบเหมือนกันได้
ตราบใดที่คุณไม่ไปลอกแบบเขาทุกประการ

๒. รู้จักฟัง จดบันทึก

๓. เขียน เขียนมาก ๆ เขียนทุกวัน เขียนอะไรก็ได้ที่คุณอยากเขียน
เขียนลงไป

๔. เข้ากลุ่ม หากลุ่ม หรือสร้างกลุ่มคนคอเดียวกันขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยน
ความเห็นและวิจารณ์งานเขียนของตน

๕. เรียนรู้เพิ่มเติม วิธีเขียนนวนิยายจากการเปิดสอน หรือหนังสือคู่มือ
หรือเข้าไปเป็นสมาชิกชมรมการเขียนสักแห่ง ห้องสร้างนักเขียนที่นี่ก็ได้

 

 
๒. การสร้างกลุ่มเพื่อวิจารณ์

การเข้ากลุ่มหรือสร้างกลุ่มขึ้นมา ไม่จำเป็นจะต้องแสวงหาคนที่เก่งหรือมีพรสวรรค ์
หรือ ประสพความสำเร็จมาก มาอยู่ในกลุ่มคุณ
อาจจะเป็นกลุ่มคนที่เริ่มเขียนเหมือนกันก็ได
้ มีการนัดพบสัก
เดือนละครั้งหรือสอง เพื่ออ่านงานเขียนของแต่ละคนแล้วช่วยกันเสนอแนะออกความเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนของแต่ละคน การจัดกลุ่มอย่างนี้เป็นเรื่องควรทำสำหรับนักเขียนใหม่ จำนวนสมาชิกในกลุ่มขอเสนอแนะว่า ไม่ควรเกิน ๕ คน ( หากเป็นการสร้างกลุ่มทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่รู้จักกันหน้าค่าตากัน เพื่อความปลอดภัย ควรใช้วิธีส่งงานเขียนของตัวเองให้

เพื่อนสมาชิกแล้วนัดเวลาเข้า Chat กันจะปลอดภัยกว่า )

 

ข้อเสนอแนะในการวิจารณ์งานเขียน

๑. ต้องจริงใจและซื่อสัตย์ อย่าโกหกให้พูดไปตามความเป็นจริง หากงานของเพื่อน
ไม่มีพล็อตเพียงพอ หรือตัวละครยังต้องเสริมบุคลิกให้มากขึ้นอีก ก็บอกเขาตรง ๆ เพราะมีแต่คนในกลุ่มเท่านั้นจะมีเวลาบอกกันได้

 

๒. อย่าเป็นคนหน้าบาง ในการเข้ากลุ่มวิจารณ์ครั้งแรกอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ หากมีการวิพากษ์วิจารณ์ที่หนักหน่วงหรือไม่เห็นด้วยในงานเขียนของคุณ มันไม่ได้หมายความ
เขาไม่ชอบคุณ คุณเลวมาก คุณต้องแยกงานเขียนของคุณกับตัวคุณออกจากกันให้ได
้ อย่าใช้อารมณ์โต้ตอบกัน หรือเป็นคนขี้ใจน้อย ให้ด้าน ๆ หน่อย หากคำวิจารณ์ในตอนนั้น
คุณรับไม่ได้ ก็ให้ปล่อยไปซะ แล้วค่อยเก็บมันมาคิดทีหลัง

 

๓. พิจารณาคำแนะนำเหล่านั้นให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่จำเป็นว่าทุกคำแนะนำของกลุ่มจะใช้ได้ในงานเขียนของคุณและก็ไม่จำเป็นที่คุณจะต้อง
ทำตามคำแนะนำจากเพื่อนทุกอย่าง เก็บขอแนะนำไปไว้พิจารณาในเรื่องต่อไปของคุณก็ได้ หากคุณไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงมันในเรื่องนี้

 

๔. จงมีความกรุณาในหัวใจ เรื่องนี้สำคัญมาก การซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาไม่โกหก ไม่ได้หมายความคุณจะหยาบคายได้ จงปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนกันที่คุณอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อคุณ อย่าลืมว่าพวกคุณต่างเป็นผู้เริ่มเรื่องที่เขียนของพวกคุณ ก็ยังเป็นเพียงเด็กทารก มันยังไม่จบ มันยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ จงเลือกใช้คำวิจารณ์อย่างระมัดระวัง เหมือนกับที่คุณต้องการให้คนอื่นทำกับงานเขียนของคุณเช่นนั้นเหมือนกัน

 

๕. จงสนับสนุนให้กำลังใจซึ่งกันและกัน นี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งของการมีกลุ่ม การมีกลุ่มที่เข้าใจว่า พวกคุณเองต่างพยายามทำดีที่สุด เพื่อจะให้เรื่องของพวกคุณได้รับการตีพิมพ์ จงสนับสนุนและให้กำลังใจกันเมื่อต้องเผชิญกับการถูกปฏิเสธ หรือต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันหรือเขียนไม่ออก

 

๖. จงเป็นมิตร การรู้จักซึ่งกันและกัน และกลายเป็นเพื่อนกัน เป็นสิ่งวิเศษสุด คุณไม่รู้หรอกว่า ธุรกิจในเรื่องนี้มันต้องแข่งขันกันแค่ไหน การมีเพื่อนก็เหมือนกับเราลดคู่แข่งลงไป

 

๗. ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เมื่อแต่ละคนส่งงานไปให้สมาชิกในกลุ่มอ่าน ทุกคนต่างอยากรู้ และรอคอยเสียงสะท้อนกลับมาทั้งนั้น จงทำการบ้านของคุณให้ดีและเหมาะสม เตรียมตัวจริง ๆ ในการอ่านงานของเพื่อนสมาชิก คุณเองก็ต้องคำวิจารณ์ที่มาพร้อมกับความตั้งใจจริง ๆ ไม่ใช่เหรอ

 

วิธีวิจารณ์ให้พิจารณาถึงหัวข้อต่อไปนี้

การสร้างตัวละคร ตัวละครเหมือนจริงมีอารมณ์ลึกซึ้งไหม? เปลี่ยนแปลงไหม? แรงจูงใจเขาสมเหตุผลหรือเปล่า เขาดูเป็นคนดีจริง ๆ หรือร้ายจริง ๆ ไหม ? การกระทำของเขาสมเหตุสมผลไหม? เกี่ยวกับตัวละครนี้คุณสามารถเลือกวิจารณ์ได้หลายอย่าง

บทสนทนา สมจริงไหม? คนอ่านจินตนาการได้ไหมว่ามีตัวละครกำลังพูดกันอยู่

ฉากสถานที่และเวลา รายละเอียดต่าง ๆ ขอฉากสถานที่และเวลา ได้ให้เพียงพอที่จะให้คนอ่านเห็นภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบกายตัวละครไหม? หากคุณต้องการบอกว่ามันดูโอ่อ่า เขียนอะไรลงไปให้คนอ่านเห็นถึงความโอ่อ่าของมันแล้วหรือยัง หรือเพียงแต่บอกเฉย ๆ

คนเล่าเรื่อง หรือมุมมอง เลือกใช้ได้เหมาะสม และคงที่ หรือกลับไปกลับมาอยู่เสมอ

การพัฒนาเรื่อง ทุกอย่างได้เคลื่อนอย่างสมเหตุสมผลไหม? คนอ่านจะงงไหม? ที่จู่ ๆ ก็เกิดอะไรขึ้นในเรื่อง มาแบบไม่มีที่ไปที่มา เรื่องราวสับสนอลวนแบบมั่ว ๆ หรือเปล่า ?

การดำเนินเรื่อง เป็นไปแบบเนิบนาบเชื่องช้า กว่าคนอ่านจะเอาตัวเข้าไปอยู่ในเรื่องได้ก็ตั้งนานหรือเปล่า บทจะดำเนินเรื่องเร็ว ๆ ก็หลุดลืมตรงไหนไหม?

ภาษาสำนวนที่ใช้ มันเยิ่นเย่อ วกไปเวียนมา ซ้ำซาก หรือเปล่า

 

 

( แนะนำให้อ่านการแก้ตรวจแก้ต้นฉบับ ในหนังสือ ๑๐๐ คำถามสร้างนักเขียน : นวนิยายคุณเขียนได้ด้วยตัวเอง สามาถนำมาเป็นแนวทางในการวิจารณ์ได้)

 
 

TOP

โดย ฟีลิปดา
๒๙ มีนาคม ๒๕๔๘

 

 

 

ทักทาย

 

 

ดั่งไฟรัก
 
 

2009 free writing

 
 
 
 

 

  http://www.forwriter.com © 2005 All rights reserved.