ตอบคำถามเพิ่ม คลิกที่นี่
 
  วันศุกร์กับภาษาไทยในนวนิยาย : เครื่องหมายวรรคตอน  
 
 

copter

20 ก.ค. 55
เวลา 12:58:42

พิมพ์
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
สวัสดีเที่ยงวันศุกร์ค่ะ
ศุกร์นี้คอปขอคุยเกี่ยวกับเรื่อง เครื่องหมายวรรคตอน
ซึ่งหลายๆ คนมีปัญหาในการใช้ประจำ
แต่จะขอพูดถึงเครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้ในนวนิยายนะคะ
ยกมาที่เห็นประจำ ไม่ได้นำมาให้ทั้งหมดค่ะ

อันดับแรก เครื่องหมาย อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด “…..”
ในนวนิยายจะใช้ในประโยคสนทนา ก่อนหรือหลัง เครื่องหมายคำพูด ควรเว้นหนึ่งเคาะ
เช่น “วันนี้เราจะไปทานข้าวที่ไหนกันดี” เมืองวดีถามชายแดน
ส่วน เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว ‘…..’ ในนวนิยายมักใช้เวลาตัวละครพูดในใจ เช่น
‘ตาบ้า มองอยู่ได้’ เมืองวดีได้แต่ว่าในใจ
ส่วน ไม้ยมก ๆ เป็นเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนคำซ้ำ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต
จะเว้นหนึ่งเคาะ ก่อนและหลังใช้ หากแต่จะวางไว้ชิดกับข้อความข้างหน้า
สมัยนี้ก็อนุโลมใช้กันค่ะ แต่ขอให้เหมือนกันทั้งเล่ม
เครื่องหมาย อัศเจรีย์ หรือเครื่องหมายตกใจ !
เครื่องหมาย ปรัศนีย์ หรือ เครื่องหมายคำถาม ?
จะเว้นวรรคเหมือนกับ ไม้ยมกค่ะ

ฮ่าๆๆ นำมาพอสังเขป หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนบ้างไม่มากก็น้อย
แถมอีกนิด เวลาพิมพ์ การเว้นวรรค ควรเว้นแค่เคาะเดียวก็พอนะคะ ไม่ต้องแถมให้เขาหลายเคาะ เดี๋ยวเวลาส่งสนพ. จะมานั่งเสียเวลาแก้อีกรอบ ฮ่าๆๆๆ ทำให้ชินค่ะ แล้วจะสบาย อิอิ

ศุกร์นี้น้องคอปขอบะบายไปก่อน หิวข้าวแล้วค่ะ

 


  คำตอบที่ 1  
 

iloverally

20 ก.ค. 55
เวลา 13:08:49
สงสัยจะใจดีมั้งคะ เลยแถมหลายเคาะ ฮ่า ๆ

ขอบคุณค่ะคุณคอป

“…..” แต่ทำไม ข้างหน้า ข้างหลังมันไม่เหมือนกัน ฮ่าๆ
 


  คำตอบที่ 2  
 

samad

20 ก.ค. 55
เวลา 14:03:05
เพิ่งรู้เหมือนกันว่าอัญประกาศเดี่ยวไว้สำหรับบอกความคิดของตัวละคร
?กับ! ต้องเว้นวรรคเหมือนไม้ยมกก็เพิ่งรู้เหมือนกัน
ขอบคุณครับ
 


  คำตอบที่ 3  
 

love april

20 ก.ค. 55
เวลา 14:41:14
ฮ่าๆๆ เห็นว่า กระทู้นี่สำหรับเอพริลโดยเฉพาะ
รับทราบครับผม ไม่รู้จริงๆๆ นะนี่ เหอ
 
 


  คำตอบที่ 4  
 

copter

20 ก.ค. 55
เวลา 14:42:01
ลืมยกตัวอย่างไม้ยมก

วัน ๆ เอาแต่นั่งโมั ไม่ทำงานทำการซะบ้าง หรือ
วันๆ เอาแต่นั่งโม้ ไม่ทำงานทำการซะบ้าง
เว้นได้ทั้งสองแบบค่ะ อิอิ

อึม การเว้นวรรคช่วงจังหวะการพูด ก็ควรระวังนิดนึงนะคะ อย่ายาวติดกันเป็นพรึด หรือเว้นในจังหวะที่ไม่ควรเว้น ฮ่าๆๆ
เชน เรือนหลังเล็กติดแม่น้ำด้านหลังเป็นบ้านของเธอที่คุณตายกให้แต่เธอมักจะมานอนบนเรือนหลังใหญ่ด้านหน้าเป็นเพื่อนคุณตา
ควรจะเว้นวรรคบ้าง
เรือนหลังเล็กติดแม่น้ำด้านหลัง เป็นบ้านของเธอที่คุณตายกให้ แต่เธอก็มักจะมานอนบนเรือนหลังใหญ่ด้านหน้าเป็นเพื่อนคุณตา เป็นต้น
 


  คำตอบที่ 5  
 

copter

20 ก.ค. 55
เวลา 14:43:34
ฮ่าๆๆๆ สำหรับทุกๆ คนค่า แต่เอพริลจะรับเป็นกรณีพิเศษก็ไม่ว่ากัน คริ คริ

ตอบคุณไอ ที่ไม่เหมือนกันเพราะมือเร็วเปลี่ยนแป้นเป็นภาษาอังกฤษไปก่อน ฮ่าๆๆ จุดเลยไม่เท่ากัน อิอิ
 


  คำตอบที่ 6  
 

มะนอแน่

20 ก.ค. 55
เวลา 20:09:03
แสลงใจกับตัวอย่างไม้ยมกยังไงไม่รุ ฮ่าๆๆ
 


  คำตอบที่ 7  
 

แตงกวา

20 ก.ค. 55
เวลา 20:23:28
ขอแชร์ด้วยอีกนิดค่ะ อัญประกาศเดี่ยว บางทีก็เห็นเค้าใช้บอกเล่า คำพูดของตัวละครในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว(อดีต)
ฟังดูเหมือนเรียนแกรมม่าภาษาอังกฤษชอบกล แต่บังเอิญไปเห็นมา เลยเอามาบอกต่อค่ะ
 


  คำตอบที่ 8  
 

คุณพีทคุง

21 ก.ค. 55
เวลา 4:34:37
อัศเจรีย์ (!) กับปรัศนีย์ (?) เว้นวรรคเฉพาะข้างหลัง แต่ไม่ต้องเว้นข้างหน้าหรือเปล่านะครับ ไม่แน่ใจ ไม่ได้เปิดหา

อัญประกาศเดี่ยว มีอีกกรณีที่นิยมใช้คือเวลาเน้นคำเป็นพิเศษ เช่น รินรดาไม่เคยรุ้จักคำว่า 'รัก'

บางสำนักพิมพ์/นักเขียนบางคน อาจใช้การจัดรูปแบบตัวอักษรเป็นตัวเอียงแทนเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยวได้ในทั้งสามกรณี (คือ ความคิดตัวละคร คำพูดในอดีต และการเน้นคำ) และอาจมีการเลือกใช้ทั้งสองแบบ เช่น บางกรณีใช้อัญประกาศเดี่ยว บางกรณีใช้ตัวเอียง แต่ในกรณีเดียวกันควรใช้แบบเดียวกันทั้งเล่ม

สมัยนี้มีความนิยมเพิ่มขึ้นอีกแบบ คือความคิดของตัวละครแบบที่ไม่ต้องใส่ทั้งอัญประกาศหรือทำตัวเอียง แต่ใช้รูปแบบเดียวกับข้อความบรรยายทั่วไป เช่น

รินรดาหันซ้ายหันขวา ตาทึ่มหายไปไหนกันนะ ถ้ามาช้ากว่านี้อีกนิดมีหวังเธอสายแน่ๆ

ประโยคแรก เป็นบรรยายธรรมดา
ประโยคที่สอง เป็นความคิดของตัวละคร (ละอัญประกาศเดี่ยว)
ประโยคที่สาม เป็นความคิดตัวละคร แต่เล่าผ่าน 'เธอ'

(ประโยคที่สามนี่ นอกขอบเขตหัวข้อเครื่องหมายวรรคตอนนิดนึง เป็นสไตล์การเขียนสมัยใหม่หน่อย เรียกว่า Free Indirect Speech ถ้าใครสนใจอยากค้นต่อครับ)
 




  เชิญกรอกข้อความเพื่อตั้งคำถาม  
  กรุณา login เพื่อตอบคำถาม