november
20 เม.ย. 55
เวลา 14:11:48
|
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับคำว่า ภาษาพูด กับ ภาษาเขียน ก่อนดีไหมคะ
ภาษาพูด คือ ภาษาปาก ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน"
การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป
ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง (CR: วิกิพีเดียไทย)
ภาษาเขียน เป็นภาษาที่เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำและคำนึงถึงหลักภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ถูกต้อง และใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เขียนให้เป็นประโยค เลือกใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร
เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการและเป็นทางการ เช่น การกล่าวรายงานกล่าวปราศัย กล่าวสดุดี การประชุมอภิปราย การปาฐกถา การใช้ภาษาจะระมัดระวังไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็นหรือคำฟุ่มเฟือยหรือการเล่นคำจนกลายเป็นการพูดหรือเขียนเล่นๆ (CR: การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 พ.ศ.2546)
เมื่อเรารู้ถึงความหมายของทั้งสองคำนี้แล้ว ลองมาดูตัวอย่างกัน
ต.ยที่ 1 สวัสดีครับคุณสมภพ เมื่อสักครู่นี้ ผมเดินทางมาตามเส้นทางถนนสายหลักโดยการโดยสารรถประจำทางหมายเลข......เดินทางไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเดินทางต่อมาขึ้นรถโดยสารประจำทางหมายเลข.... เพื่อตรงไปเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.ยที่ 2 เฮ้ย สมภพ เมื่อกี้กูขึ้นรถเมล์สาย....ไปลงเสาวรีย์แล้วก็ต่อสาย....มาลงที่มหาลัยว่ะ
เห็นความแตกต่างไหมคะ ตย.ที่ 1 คือภาษาเขียน(ที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นักเพราะใช้คำฟุ่มเฟือยมาก แต่เขียนเพื่อให้เห็นชัดเจนค่ะ) และ ตย.ที่ 2 คือภาษาพูด คิดดูว่าถ้าเรายกตัวอย่างแรกมาใส่ไว้ในบทสนทนาในนิยายของเราแล้วน่าเบื่อขนาดไหน
ภาษาพูดของแต่ละคนมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน ทุกคนมีศัพท์และวิธีการพูดเฉพาะของตัวเอง ส่วนภาษาเขียนต้องการแค่เฉพาะเนื้อหาเฉพาะ ไม่สนใจบุคลิกลักษณะของผู้พูด
ซึ่งในการเขียนบางครั้งเราก็เอาภาษาพูดมาเขียนเพื่อที่จะให้แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้พูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะเห็นได้มากในบทสนทนาในนิยายทั้งหลาย
งานเขียนแต่ละอย่างก็แตกต่างกัน บทบรรยายใน สารคดี กับ นิยาย ก็แตกต่างกันค่ะ
เห็นด้วยกับคุณTethysค่ะ ว่าหัวข้อกระทู้ของพี่คอปลึกซึ้งมากแม้ว่าจะพูดถึงแค่ภาษาพูดกับภาษาเขียน เพราะยังเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นอีกเยอะแยะมากมายเลยค่ะ
และขอเสริมคุณ Loma ว่านอกจากอ่าน เขียน แล้วต้องคิดตาม ด้วยค่ะ
|