ตอบคำถามเพิ่ม คลิกที่นี่
 
  เสวนาหน้ากระดาน - เรื่องของฉัน ไม่ใช่เรื่องของคุณ!  
 
 

คุณพีทคุง

31 ม.ค. 55
เวลา 23:11:39

พิมพ์
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
นายมะโรงจังสวัสดีดึกๆ ของวันอังคารครับ เกือบพ้นวันแล้ว แว้ก ตาคุณพีทคุงมัวแต่ทำบัญชีจนลืมเรียกนายมะโรงจังเลย (โทษไปนู่น)

เสวหน้านากระดาน เอ๊ย เสวนาหน้ากระดานสัปดาห์นี้ นายมะโรงจังจะชวนคุยเรื่อง "เรื่องของฉัน" ครับ

นิยายบางเรื่องเขียนในรูปแบบของการเล่าโดยตัวละครคนเดียวตลอดเรื่อง โดยสมมุติให้ตัวละครคนนั้นเป็นผู้เล่าเอง ด้วยสรรพนาม "ฉัน" หรือ "ผม" (หรือ "ข้าพเจ้า" หรือ... อะไรอีก...) ไม่มีคนอื่นแวะมาช่วยเล่าเลย

การเล่าแบบนี้อาจจะเป็นรูปแบบนวนิยายปกติก็ได้ หรืออาจจะใช้รูปแบบของบันทึกหรือไดอะรี่ก็ได้ บางทีก็เจอในรูปแบบของจดหมายของตัวละครเพียงคนเดียวบ้าง

ที่อยากจะชวนเพื่อนๆ คุยสัปดาห์นี้ก็คือ... แอ่นแอนแอ๊น...

ในฐานะคนอ่าน รู้สึกยังไงกับนิยายที่เล่าด้วยวิธีนี้บ้างครับ ชอบไม่ชอบตรงไหนหรือเปล่า

และในฐานะคนเขียน เคยเขียนนิยายด้วยวิธีนี้มั้ย รู้สึกยังไงบ้าง ชอบการเล่าแบบนี้หรือเปล่า เจอปัญหายังไงบ้างหรือเปล่า เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

(สำหรับกระทู้นี้ ขอเจาะไปที่นิยายซึ่งมีตัวละครผู้เล่าคนเดียวก่อนนะครับ)
 


  คำตอบที่ 1  
 

loma

1 ก.พ. 55
เวลา 6:44:45
คงต้องเป็นคนเขียนที่เก่งจริงๆ ที่จะพาเราติดตามและอินไปกับเรื่องราวที่เขาเล่าไปตลอดทั้งเรื่อง เพราะบางเรื่องอ่านแล้ว ไม่ค่อยเข้าถึงและเบื่อๆ

ในมุมของนักเขียนก็........รอท่านอื่นมาตอบ ขอ ฟังด้วยคนค่ะ ฮ่าๆ
 


  คำตอบที่ 2  
 

saitharn

1 ก.พ. 55
เวลา 7:26:13
โดยส่วนตัวสายธารแล้ว ถ้าเปิดเจอนิยายที่ใช้ ฉัน เล่าเรื่อง ก็จะวางกลับที่เดิมค่ะ ^ ^

เปรียบไปก็เหมือนกับการฟังคนพูดอยู่คนเดียว คนอื่นไม่มีสิทธิ์โต้แย้งหรือปฏิเสธได้เลย ถ้าไม่เด็ดจริงคนคงไม่อยากฟัง แล้วส่วนใหญ่จะเจอแบบเล่าไปเรื่อยๆ มากกว่า

ยิ่งเจอ ทั้ง ฉัน หรือ ผม ในเรื่องเดียวกัน ยิ่งรู้สึกแปลกๆ ค่ะ อาจเป็นเพราะ ฉัน เล่าไปจนจบบทแล้ว ผม ค่อยมาขึ้นต้นในบทต่อไปแล้วก็เป็นการเล่าในเรื่องที่ ฉัน เล่าไปแล้ว มันเหมือนไม่ค่อยต่อเนื่องค่ะ

แล้วก็คิดว่า การเล่าเรื่องประเภทนี้หาก ฉัน ไม่มีบุคลิกในแบบที่เราชอบแล้ว ก็ไม่อยากจะติดตามต่อแล้วค่ะ

ในฐานะคนเขียน ไม่เคยเขียนนิยายที่ใช้การเล่าแบบนี้ และก็ยังไม่คิดจะเขียนนิยายแนวนี้ในเร็วๆ นี้ค่ะ แต่อนาคตอาจจะเขียนก็ได้ค่ะ เพราะมันดูท้าทายดี

 


  คำตอบที่ 3  
 

ก้อนดิน

1 ก.พ. 55
เวลา 7:26:24
แหะๆ

ถ้าให้ตอบตรงๆ ขอยกตัวอย่าง อย่างนิยายหมวดที่ดำเนินเรื่องด้วย "ฉัน" ความรักใสๆ ของสนพ.แจ่มใส แม้เนื้อเรื่องสนุก พล็อตน่าสนใจขนาดไหน ก็เห็นจะไม่ไหวค่ะ...ขอออกตัวอย่างเวินเวอร์ว่าเอียนนิดๆ หน้าปกเป็นลายการ์ตูนสดใส เปิดมาข้างใน "ฉันชื่อโย และอีตาหน้าหล่อนั่นชื่อคยองเฮ ฉันกับอีตานั่นเป็นอริกันมาตั้งแต่...." เรื่องน่าสนุกนะ แต่เอ่อ...ไม่ไหวค่ะ ถ้าเป็นแนววัยไสๆ แบบนี้

แต่ถ้าเป็นหมวดชีวิต /แถวคิด /อิสระภาพจินตนาการ อย่างในเรื่องอาจจะมีผู้ชายหนึ่งคน เลี้ยงหมา แล้วทุกวันเขาก็อยู่กับความคิดตัวเอง เล่าออกมาเป็นคำบรรยายแนวคิด คติ สัจธรรม อย่างนี้โอเคค่ะ อ่านไม่รู้เบื่อเลยจริงๆ >>>หนูยังเด็กอยู่น่ะ =*=

ส่วนในแนวความรัก /อกหัก /เรื่องราว /แรงจูงใจ /พลังใจ /ให้กำลังใจ ถ้ากลั่นกรองออกมาเป็นนิยายก็น่าสนใจค่ะ ชอบอ่านเหมือนกัน ถ้าเนื้อหามันไม่เนินนาบและย่ำอยู่กับที่จนเกินไป ^^

ถ้าถามว่าเคยเขียนแนวนี้ไหม...มีแอบเขียนบ้างค่ะ แต่เป็นอารมณ์ของความรัก เรื่อง "รัก...ได้ยินไหม?" กับ "ต้องดีพอ...หรือแค่พอดี" แอบเขียนเหมือนเป็นไดอารี่เลยค่ะ ถ้าถามถึงอุปสรรค์ เห็นจะเป็นความขี้เกียจและไม่มีอารมณ์ค่ะ
สำหรับนักเขียนท่านอื่นใช้หลักการอย่างไรเริ่มเขียนนิยาย ปูเป้ไม่รู้นะคะ แต่ปูเป้ต้องอารมณ์เป็นหลักพล็อตเป็นลองค่ะ 555 <<<อย่างนี้ไง มันถึงได้ไม่พัฒนากะเขาสักที - -

ไม่แน่ใจว่าตอบตรงคำถามหรือเปล่านะคะ รู้สึกสมองไม่เดินเพราะยังไม่ได้งีบ เหอๆ

อยากรู้เหมือนกันค่ะว่าท่านอื่นๆ คิดแบบไหน ขอต่อแถวรอด้วยคนนะคะคุณโลมา @___@~
 


  คำตอบที่ 4  
 

มะยม

1 ก.พ. 55
เวลา 10:09:19
1.ในฐานะคนอ่าน รู้สึกยังไงกับนิยายที่เล่าด้วยวิธีนี้บ้างครับ ชอบไม่ชอบตรงไหนหรือเปล่า
.............................................

ชอบค่ะ เพราะ ได้ฟังเรื่องราวของคนๆหนึ่ง

ไม่ชอบค่ะเพราะเหมือนฟังเรื่องเล่าจากคนๆเดียว

สรุปค่ะว่า .. จะชอบหรือไม่ชอบ ขึ้นอยู่ว่า เรื่องนั้นเราอยากรู้หรือไม่อยากรู้ ขึ้นอยู่กับ แนวเรื่องและคนเล่า^^


1.
และในฐานะคนเขียน เคยเขียนนิยายด้วยวิธีนี้มั้ย รู้สึกยังไงบ้าง ชอบการเล่าแบบนี้หรือเปล่า เจอปัญหายังไงบ้างหรือเปล่า เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ
..............................................

ไม่เคยเขียนค่ะ ....

ก็ไม่เคยเขียนจะเจอปัญหาได้ยังไงคะคุณมะโร๊งงงง อิๆ



ปล. ชอบเลข 1. เลยมี 11 ทั้งสองอัน 5555 ห้อง 11สู้ๆ อ๊ากกก ...ผิดงานป่าวนิ^^
 


  คำตอบที่ 5  
 

ฮาบีบี้

1 ก.พ. 55
เวลา 10:20:30
ไม่ถึงกับไม่ชอบงับ บางเรื่องถึงจะเริ่มแบบสเต็ปเดิมๆ ฉันชื่อนั้น นายนั่นชื่อนี้ ฉันกับนายนั่นเป็นอริกัน.... ฮาก็อ่านได้งับ อ่านแค่เอาความเพลิดเพลิน และความสนุกบางส่วนที่อยู่ในนิยาย แต่ต้องอ่านฟรีแบบไม่เสียงตังค์นะงับ (555+ น้องสาวชอบอ่าน พี่สาวเลยได้อ่านด้วย)

การเล่าเรื่องด้วยวิธีแบบนี้ มันกึ่งๆ จะชอบก็ไม่ใช่ จะไม่ชอบก็ไม่ใช่ แต่ถ้าเจอนิยายที่เล่าเรื่องแบบนี้ เล่าเรื่องได้น่ารักประมาณหนึ่งก็อ่านงับ (ช่างเป็นคำตอบที่กำกวมจริงๆ งับ)

และในฐานะคนเขียน เคยเขียนนิยายด้วยวิธีนี้มั้ย รู้สึกยังไงบ้าง ชอบการเล่าแบบนี้หรือเปล่า เจอปัญหายังไงบ้างหรือเปล่า เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

ตอบ --- เคยงับ นิยายเรื่องแรกที่ สนพ. ก็เล่าเรื่องด้วยสรรพนาม "ฉัน" หรือ "ผม" แต่เมื่อส่งไปแล้วผลกลับนิยายไม่ผ่าน นอกจากเรื่องไม่เด่น ตัวละครไม่เด่น ฮาคิดว่าการเล่าเรื่องโดยใช้สรรพนาม "ฉัน" หรือ "ผม" ไม่ใช่การเล่าเรื่องที่ฮาถนัด ตอนหลังก็เลยมาใช้แบบที่ฮาถนัดดีกว่างับ

^^
 
 


  คำตอบที่ 6  
 

november

1 ก.พ. 55
เวลา 12:44:24
ตอบในฐานะคนอ่าน : อ่านหมดค่ะ ถ้าเรื่องนั้นสนุก ท้าทายดีทั้งคนเขียน-คนอ่าน ในแง่คนเขียนเขียนยังไงที่จะทำให้คนอ่าน อ่านเรื่องของเราตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วสนุกไปกับเรา ในแง่คนอ่าน คนเขียนเขาจะเป็นไกด์นำทางที่ดีไหม สนุกตื่นเต้นไหม สุดท้ายเราชอบไหม

ตอบในฐานะคนเขียน : ไม่ทราบว่าเรื่องที่ได้เขียนไปแล้วนับอยู่ในคำถามหรือเปล่านะคะ เพราะเคยใช้วิธีนี้ในการเล่าเรื่อง ที่สำคัญคือเล่าในมุมมองของหมาที่มองคนอีกต่างหาก

ซึ่งมันยากตรงที่เราไม่ใช่หมานี่ล่ะ ดังนั้นตอนที่เขียนเลยต้องทำตัวเป็นหมา คิดอย่างหมา และปากหมา (ทุ่มสุดตัว) เวลาเขียนก็สนุกดีค่ะ
ส่วนเรื่องจะถูกหรือผิดไม่ทราบค่ะ เพราะได้เปรียบตรงที่ไม่มีใครจับผิดเราได้ (นอกจากหมาตัวจริงจะอ่านนิยายออก 5555)

แต่เรื่องที่แต่งเป็นเรื่องสั้นค่ะ ปัญหาจึงยังไม่เกิด "เรายังเอาอยู่" เพราะเรื่องสั้นกับเรื่องยาวมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และตอนนนี้กำลังสงสัยว่าถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องยาวตัวเองยังจะ "เอาอยู่" อีกไหม

มันเลยกลายเป็นเรื่องท้าทายส่วนตัว ว่าอยากลองเอาเรื่องสั้นนี้มาขยายให้ยาว โดยใช้"หมา"เป็นตัวเล่าเรื่องอีกครั้งค่ะ

ส่วนใครที่ไม่เข้าใจว่าป้าเคพูดเรื่องอะไร ตัวอย่างลองไปหาอ่าน ในแรลลี่เรื่องสั้น 80 หน้า ครั้งที่ 1 นะคะ เรื่อง คนเหงากับเถาองุ่น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะขยายเป็นเรื่องยาว
ส่วนตัวเรื่องสั้นต้นเรื่องจริง ไปหาอ่านได้ที่บล็อคป้าเคในหัวข้อเรื่องสั้นคั่นเวลาชื่อเรื่อง "ใครเหงาใต้เถาองุ่น"ได้ค่ะ
 


  คำตอบที่ 7  
 

samad

1 ก.พ. 55
เวลา 13:45:17
ชอบหรือไม่ อยู่ที่การเดินเรื่อง
มีเรื่องนึงที่ชอบมาก ก็พัดชานั่นแหละครับ
แต่ ถ้าพล็อตซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ มากๆ คงใช้ ฉัน เล่าคนเดียวไม่ได้หรอก มั้งครับ
โดยรวม ยังชอบ แบบ เขา เธอ คนนั้น คนนี้ มากกว่า
เพราะแต่ละตัวละคร ก็ต่างความคิดกันไป
เนอะ....
 


  คำตอบที่ 8  
 

linmy

1 ก.พ. 55
เวลา 14:53:23
เฉยๆงับ คืออ่านได้หมด และบางครั้งก็รู้สึกว่ามันเข้าท่าเหมือนกัน ถ้าคนเขียนมีฝีมือพอการเล่าแบบนี้ก็ไม่ได้น่าเบื่ออะไร แถมยังมีข้อดีที่ทำให้เข้าใจจิตใจตัวละครมากขึ้น

เคยเห็นนักเขียนบางคนเอา บุรุษที่ 1 กับ บุรุษที่ 3 มาผสมกันเล็กน้อย ก็สามารถแก้ใขข้อผิดพลาดในการบรรยายที่จำกัดเกินไปของการใช้บุรุษที่ 1 เพียงอย่างเดียวได้

ซึ่งส่วนตัวแล้วก็ได้ลองแล้วเหมือนกันคิดว่ามันท้าทายดีแม้จะไม่ถนัดนัก โดยปกติใช้บุรุษที่ 3 ตลอด แฮะๆ เพราะคิดว่าง่ายดี แต่ยากในการบรรยายความรู้สึกที่ลึกล้ำของตัวละคร

ฉะนั้นในฐานะคนอ่านแล้วจึงรู้สึกไม่ได้รำคาญค่ะ และรู้สึกสนุกไปกับการอ่าน เพราะคนเขียนก็มีความสามารถในการบรรยายพอตัว และส่วนหนึ่งตัวเองเป็นคนจินตนาการฟุ้งเฟ้ออยู่แล้ว(ไม่ได้หลงนะ) เลยยากที่จะแยกว่าเรื่องเขียนแย่ เพราะต่อให้บรรยายเป็นยังไงก็เห็นภาพอยู่ดี (แย่ไปไหม)
 


  คำตอบที่ 9  
 

Tethys

1 ก.พ. 55
เวลา 19:23:49
ส่วนใหญ่ที่เขียนมาเยอะๆ แบบที่คุณ linmy ว่าแหละค่ะ เป็นการผสมผสาน pov แบบที่ 1 กับ แบบที่ 3 มันทำให้เล่นอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอกได้ง่ายดี

ดังนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อตัวละครมากกว่า "ฉัน" เลยไม่เห็นมีตัวฉันโผล่ออกมาให้เห็นเลย

แต่การเขียนแนวนี้ ทำให้เห็นแต่ซีกเดียวคือฝั่งที่เป็นพันธมิตรกับตัวเอก แต่ฝั่งตรงข้ามจะไม่เข้าไปเจาะลึกเลย อารมณ์หนึ่งมันก็ให้เป็นเหมือนชีวิตคนปกติ เราไม่รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามเขาคิดอะไร

แต่มุมกลับฝ่ายตรงข้ามก็เสียเปรียบหน่อย ไม่สามารถบอกความในใจจริงๆ ได้ว่าจริงแท้แน่กับสิ่งที่ทำลงไปนั้น มีเหตุผลใด หรือไม่สามารถแก้ตัวใดๆ ได้เลย

อย่างเช่น กรณี ของ "เมษา" ในเรื่องลุงธันว์ นั่นแหละค่ะ คนอ่านจะไม่รู้ความคิดภายในใจของเมษาเลย

บางตัวละครถึงต้องแตกออกไปมีเรื่องใหม่ อุอุ เพื่อจะได้บอกเล่าความในใจของตัวเองได้

เอ๊าาาา เริ่มออกนอกเรื่อง...


ส่วนตัวชอบวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ เพราะมันสนุกสนานที่ได้เขียนเข้าไปในอารมณ์จริงๆ เจาะลึกถึงแก่น และเขียนได้ไหลลื่นตลอด


อ่านกระทู้ไปวันก่อน ทำให้คิดได้ว่า เพราะอะไร ถึงเขียน เพลงนั้นฯ ไม่ไหล แทบสำนวนก็เป็ฯ "ช่อคราม" ขึ้นทุกที ก็เลยพบคำตอบว่า เพราะสไตล์ของ ริมหน้าต่างฯ จะใช้มุมมองนี่ เหมือนเขียนเป็นฉันนี่นแหละ (แต่ใช้ชื่อตัวละครแทน)

เรื่องเลยไม่ไปไหนซักที 55555 ต้องรื้อเรื่องเขียนใหม่ ออิอิ เก็บเวอร์ชั่น "ช่อคราม" ไว้แทน

ขอบคุณประเด็นกระทู้นี้ ทำให้เห็นคำตอบที่จะแก้ไขงานค่ะ
 


  คำตอบที่ 10  
 

Tethys

1 ก.พ. 55
เวลา 19:42:55
ลืมตอบในฐานะคนอ่าน ถ้าเรื่องมีเรื่องราวที่มาที่ไป ไปตลอดรอดฝั่งจนจบ ก็อ่านค่ะ แต่ถ้าเป็นแบบบันทึกชีวิตประจำวันก็จะอ่าน 7 วันแรก ที่เหลืออ่านผ่านๆ 5555 กลัวท้อง ออุุอุอ

ไม่เกี่ยวเนอะ แต่จริงๆ ก็อ่านหมดแระ ตามหน้าที่ ขออย่างเดียว อย่าเขียนฉัน เป็น "ชั้น" แล้วกัน

คิดถึงคุณฉันอ่ะ จบแบบนี้แล้วกันนะ เดี๋ยวยาว อิอิ
 


  คำตอบที่ 11  
 

philipda

1 ก.พ. 55
เวลา 19:59:37
การเล่าเรื่อง ไม่เพียงวิธีการเล่า
แต่เรื่องที่เล่าต้องน่าสนใจด้วย
ถ้าพูดถึงการใช้ pov แบบฉัน
ที่ชื่นชม ชอบยกมาเป็นตัวอย่างบ่อยๆ
คือเรื่อง ความพยาบาท
และแม้แต่เรื่อง ชิมรักจากชอกโกแลต
ที่ใช้ ฉัน และ ผม ผลัดกันเล่าเรื่อง
ก็เป็นเรื่องที่น่าอ่าน น่าสนใจ

นวนิยายที่เขียนสไตล์ chick lit
ก็มักจะใช้คำว่า ฉัน เป็นเรื่องเล่าของคนเขียน
ด้วยอารมณ์ขัน เจ็บๆ คันๆ มันๆ
มีหลายเรื่องที่อ่านสนุก และลุ้นว่า
จะเกิดอะไรขึ้นกับ ฉัน คนนั้น
ฉัน คนนั้นจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้หรือเปล่า
ฉันคนนั้นจะแก้ไขข้อผิดพลาดตัวเองได้ไหม

ดังนั้นสำหรับพี่ฟีแล้วการใช้ สรรพนามเล่าเรื่อง
จึงไม่เป็นตัวกรองสำหรับการเลือกหนังสือมาอ่าน
จะอยู่ ที่เนื้อหา เรื่องราว ที่ถ่ายทอดออกมาเสียมากกว่า

แต่....
จะหลีกเลี่ยงหนังสือเล่มนั้นทันที
ไม่ว่า คนเขียนจะใช้มุมมองแบบไหน
ไม่ว่าใครจะบอกว่าสนุกมหาศาลเพียงใด
ถ้าหากเขียนคำว่า "ฉัน" แทนด้วย "ชั้น"
^--^

ปล.
การใช้มุมมองเล่าเรื่อง ด้วยคำว่า ฉัน นั้น
พี่ฟีก็เขียนค่ะ เรืองแรกเลย
บันทึกร้อยวัน ฉันจะเขียนนวนิยายให้จบ

และยังจะมี ฉัน เรื่อง ของ นางรำ (นะคะ) ตามมาอีก
(The publishing พิมพ์รักสลับร่าง หย่อนไว้หลายปีแล้ว ฮ่าๆๆ)

^--^

 


  คำตอบที่ 12  
 

มะนอแน่

1 ก.พ. 55
เวลา 20:03:32
ไม่เคยเขียนเรื่องของ "ฉัน" เลยค่ะ มีปัญหากับมุมมอง ฮ่าๆๆ

เท่าที่อ่านมา มีพัดชาคนเดียวค่ะที่ตรึงมะนอไว้กับเธอได้
ถึงเล่มเธอจะใหญ่ แต่ก็ยังจะต้องพกเธอไปติดตัวเพราะอยากรู้ว่าเธอจะทำความฝันได้เป็นจริงหรือเปล่า เธอทำให้มะนอนั่งขำกับความน่ารักของเธอค่ะ

ส่วนตัวแล้วคิดคล้ายๆ พี่ป๋องค่ะ แบ่งคนอื่นเล่าบ้าง เล่าคนเดียวเดี๋ยวคอแห้ง ฮ่าๆๆ
 


  คำตอบที่ 13  
 

iloverally

2 ก.พ. 55
เวลา 10:51:34
ไม่ค่อยเจอนะคะ "ฉัน"
คงเพราะไม่ได้อ่านหนังสือ ฮ่าฮ่า

หนังสือเก่าในลิสต์ที่ต้องอ่าน มีเยอะแล้ว คิดว่า
คงไม่สนใจแนวนั้น มาแช่อิ่มเพิ่มค่ะ
การเล่าเรื่องคนเดียว
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะคล้าย เป็น บันทึก ไดอารี่
น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ชอบ
อ่านมุมมองชีวิตคนอื่น
อาจจะแล้วแต่ ความชอบส่วนตัวนะคะ

ฮ่าฮ่า แต่เคยเขียน บันทึกพร่ำรำพัน อยู่คนเดียวเหมือนกันนะคะ เป็นเหมือน ทบทวน สิ่งที่เราจะทำ
หรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต
คอยย้ำเตือนไม่ให้ผิดพลาดซ้ำสอง
 


  คำตอบที่ 14  
 

buddy

2 ก.พ. 55
เวลา 12:10:01
ในฐานะคนอ่าน ถ้าเรื่องไหนอ่านสนุกก็อ่านได้ ไม่มีปัญหากับการเล่าโดย ฉัน หรือ ผม คนเดียวค่ะ

แต่หลายๆ ครั้งที่เจอแล้วทำให้เบื่อที่จะอ่าน คือ คนเขียนออกจะพร่ำพรรณามากไปหน่อยจนน่ารำคาญ เนื้อเรื่องไม่เดิน หรือพวกที่เขียนเหมือนเขียนไดอารี่อกหักรักคุด อันนี้ก็ไม่ไหว อ่านแล้วเพลีย

สรุปว่าแล้วแต่เรื่องค่ะ อ่านสนุกก็อ่าน

ในฐานะคนเขียน อยากเขียนค่ะ เพราะรู้สึกว่าท้าทายดี

การเล่าเรื่องโดยใช้หลายมุมมอง สามารถทำให้ดำเนินเรื่องไปได้ง่ายและเร็ว รวมทั้งไม่น่าเบื่อ แต่การเล่าโดยคนคนเดียว เราสามารถใส่อารมณ์และความคิดของตัวละครได้เต็มที่ (เพราะมองจากมุมเดียว) ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไปจนกลายเป็นเอียน คิดว่าต้องใช้ทักษะในการเขียนมากเลยทีเดียว

^________^
 


  คำตอบที่ 15  
 

อรหันต์

3 ก.พ. 55
เวลา 0:45:34
การเล่าโดยตัวละครคนเดียวตลอดเรื่อง ประเด็นน่าสนใจดีครับเฮีย

ขอออกความเห็นจากการที่เคยอ่านนิยายประเภทนี้นะครับ

นิยายที่เล่าเรื่องโดยสมมุติให้ตัวละครคนนั้นเป็นผู้เล่าเอง ด้วยสรรพนาม "ฉัน" หรือ "ผม" (หรือ "ข้าพเจ้า" หรือ... อะไรอีก...)

เท่าที่ผมจำได้ มีอยู่ครับ

เรื่องแรกเลย เมื่อกี้ได้คุยกันได้ห้องคุยสดก็คุยกันถึงเรื่องนี้ครับ

ศิลปินเถื่อน ของนราธิป เล่าเรื่องโดยใช้สรรพนาม ผม
อ่านแล้วฮามากมาย เป็นเรื่องของกลุ่มศิลปินไร้สังกัด ที่วันๆมีแต่เรื่องหนุกหนานแล้วก็การก๊งเหล้ากัน เนื้่อเรื่องไม่มีคำว่าน่าเบื่อ

เรื่องที่สอง พันธุ์หมาบ้า ของชาติ กอบจิตติ เรื่องนี้ก็ ใช้สรรพนาม ผม เป็นคนเล่าเรื่องเหมือนกัน
น้าชาติแกเขียนให้เราอ่านชนิดที่แบบว่าอยากออกไปใช้ชีวิต เหมือนกับ อ๊อตโต้และผองเพื่อน

เรื่องที่สาม มหาลัยเหมืองแร่ ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ครับ
ถ้าจำไม่ผิด การเล่าเรื่องของ คุณอาจินต์ใช้คำว่าผม เหมือนกันนะ
ทุกเรื่องทุกตอนที่เขียนมาเห็นภาพเห็นการขัดแย้งระหว่างตัวบุคคล
การขัดแยังทางด้านความคิดและวัฒนธรรมแต่ก็เป็นแค่ในสังคมของคนทำเหมืองแร่ แต่การดำเนินเรื่องสนุกสนานดี

ส่วนเรื่องที่สี่ น้ำตาลูกทุ่ง ผมจำชื่อคนเขียนไม่ได้ ขอโทษจริงๆ
ใช้คำว่าผม เป็นสรรพนามในการเล่าเรื่องเหมือนกัน
เป็นเรื่องราวชีวิตของคนๆหนึ่งที่ผ่านความลำบากยากแค้นตั้งแต่เด็กจนโต ผมอ่านแล้วสงสารตัวละครตัวนี้มาก เพื่อนเคยยืมไปอ่านเค้าบอกว่าพี่หนูอ่านแล้วร้องไห้เลย

เรื่องที่ห้า ลูกอีสาน ของ คำพูน บุญทวี ผมไม่มั่นใจว่า ใช้สรรพนามในการเล่าเรื่องว่าผมด้วยหรือเปล่า แต่ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นคำว่าผมอีกเหมือนกัน เรื่องนี้ก็เล่าได้อย่างสนุกสนานปนรันทดอีกเหมือนกัน เป็นชีวิตของคนอีสานต่างจังหวัดที่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก
หลังจากนั้นก็มีออกมาอีกสองสามเล่ม เป็นชีวิตช่วงวัยหนุ่มและวัยทำงานของคำพูน บุญทวี ที่พอจำได้ ก็เรื่อง อีสานพเนจร การเล่าเรื่องก็ใช้แนวเดิมอีกนั่นแหละ

พอจะสรุปได้ว่า การเล่าเรื่องใส่ลงในหนังสือผ่านตัวอักษรนั้น
ไม่ว่าจะเล่าเรื่องแบบไหน ใช้สรรพนามแบบไหน โครงเรื่องแบบไหน
ถ้านักเขียนคนนั้นเป็นผู้ที่มีฝีมือและชั้นเชิงเยี่ยมยอดแล้วไซร้
หนังสือเล่มนั้นต้องเป็นหนังสือน่าอ่านและดีสำหรับนักอ่านแน่นอน

เหมือนหนังสือที่ผมยกตัวอย่างมาทั้งห้าเล่ม หลายคนอาจจะไม่รู้จักหรือบางคนอาจจะรู้จักแค่บางเรื่อง อันนี้มันก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล

แต่หนังสือที่ผมยกตัวอย่างมาทั้งหมดได้ผ่านการอ่านจากนักอ่านมานานหลายปีหลายรุ่น ก็ได้รับการตอบรับและการยอมรับในกลุ่มคนหมู่มากมาแล้วทั้งสิ้น และได้พิมพ์ซ้ำไปหลายรอบแล้วเหมือนกัน ก็พอจะเป็นตัวชี้วัดได้ว่าการเล่าเรื่องแบบไหนไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหาของหนังสือที่สื่อออกมาแล้วโดนใจของคนอ่าน อันนี้สำคัญกว่า

เท่าที่จำได้ อาจินต์ ปัญจพรรค์ มักจะเล่าเรื่องสมัยอดีตโดยใช้ตัวท่านเป็นตัวเดินเรื่อง มีหลายเรื่องนะ ผมเคยอ่านแต่จำชื่อเรื่องไม่ได้จริงๆ

วันก่อนเคยดูรายการทีวี ได้ไปถ่ายทำชีวิตของ ส.พลายน้อย
มีคำหนึ่งที่ท่านฝากมาถึงคนรุ่นหลังประมาณว่า ท่านอยากให้คนรุ่นหลังอ่านหนังสือดีๆที่ดีจริงๆ บางคนจบอักษรศาสตร์(ถ้าผมจำไม่ผิดนะ)และอยากเป็นนักเขียน แล้วมาขอความรู้จากท่าน ท่านถามว่าเคยอ่านหนังสือดีๆอะไรมาบ้าง ตอบท่านไม่ได้ ท่านถามว่าหนังสือเล่มนี้ดีอ่านแล้วหรือยัง บอกไม่เคยอ่าน เล่มนี้ล่ะก็ไม่เคยอ่าน ท่านบอกว่าเมื่อคุณไม่เคยอ่านหนังสือดีๆแล้วหนังสือดีๆและผลงานดีๆมันจะเป็นมรดกตกทอดไปให้ลูกหลานได้อย่างไร ผมจำได้ประมาณนี้แหละครับ
ผมฟังแล้วมันเป็นคำสั่งสอนที่น่าขบคิดและนำมาปฏิบัติมากๆถ้าผมเป็นนักเขียนนะ แต่ผมได้แต่คิดเพราะผมเขียนหนังสือไม่เก่ง

พอแล้ว ยิ่งออกความเห็นยิ่งออกทะเล ฮ่าๆๆๆๆ
 


  คำตอบที่ 16  
 

วรบรรณ

3 ก.พ. 55
เวลา 7:35:08
ในฐานะคนอ่าน... ชอบครับ เพราะทำให้เราได้รู้จักตัวละครอย่างดีจนเหมือนเป็นญาติสนิท

ในฐานะคนเขียน... รู้สึกว่าสนุกสนานและท้าทายอย่างมาก เพราะต้องมาคิดว่า จะให้ตัวละครอื่นแสดงบทบาทอย่างไรจึงจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเขาโดยที่เขาไม่ต้องบอก อารมณ์เหมือนละครใบ้ โดยส่วนตัวแล้วผมชอบการเขียนแบบนี้ครับ
 


  คำตอบที่ 17  
 

copter

3 ก.พ. 55
เวลา 8:20:56
ในฐานะคนอ่าน
อ่านได้ค่ะ แต่นวนิยายมุมมองนี้เจอน้อยมาก
คงขึ้นอยู่กับคนแต่งว่าสามารถสื่อให้เราไม่รู้สึกติดขัดรึเปล่า
แตที่อ่านมาก็สนุกดีค่ะ

^^
 


  คำตอบที่ 18  
 

คุณพีทคุง

5 ก.พ. 55
เวลา 6:12:08
(ช่องนี้ของคุณพีทคุง)

สัปดาห์นี้คุณพีทคุงยุ่งม้ากมากครับ เดี๋ยวเรียกนายมะโรงจังมาตอบนะ ขอพากันไปสลบก่อง
 


  คำตอบที่ 19  
 

คุณพีทคุง

5 ก.พ. 55
เวลา 21:53:52
(ช่องนี้ของนายมะโรงจังครับ)

คุณโลมา จะให้สนุก คนเขียนก็ต้องมีฝีมือเหมือนกันนะครับเนี่ย

คุณสายธาร แสดงว่าไม่ค่อยถูกใจแบบนี้เท่าไหร่เหมือนกันนะครับ

คุณก้อนดิน ดูแล้วเหมือนขึ้นอยู่กับแนวเรื่องมากกว่าใช่มั้ยครับ

คุณมะยม ตกลงทั้งชอบและไม่ชอบเลยนะเนี่ย ป.ล. มิน่า มีแต่บทที่ 1 ไม่มีบทที่ 2 จ๊าก (เผ่น)

คุณฮาบี้ ไม่กวมมากหรอกครับ แสดงว่าไม่ได้รู้สึกบวกหรือลบกับมุมมองนี้เป็นพิเศษ ปัจจัยอื่นมีน้ำหนักมากกว่าไงงับ เอ๊ยครับ

คุณพฤศจิกา เขียนด้วยมุมมองของน้องหมานี่ ต้องใช้จินตนาการมากๆ เลยนะครับ ลองขยายเป็นเรื่องยาวคงยิ่งท้าทาย ขอให้หนุกหนานนะครับ (ป.ล. ใครเหงาฯ อ่านแล้วในชุ่มฉ่ำฯ อิๆ)

คุณแสมอัด อ๋อ ชอบหลายใจนี่เอง เข้าใจแล้วครับ

คุณลินมี่ แสดงว่าอ่านได้ทั้งสองแบบเลยนะครับ ไม่ได้ไม่ชอบแบบนี้เป็นพิเศษนะ

คุณพี่อ้อ จริงด้วยครับ มุมมองแบบนี้จะเห็นซีกเดียวจริงๆ ฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบมากๆ แต่ตอนเจาะอารมณ์ ก็สามารถทำได้สนุกมากๆ เหมือนกัน (ป.ล. ช่อคราม กับ ริมหน้าต่างฯ ต่างกันอย่างไร อิๆ, ป.ล.สอง คิดถึงคุณฉันเหมือนกัน จ๊าก)

พี่ฟี ดูเหมือนมุมมองนี้จะมีเสน่ห์ถ้าหยิบเอาแง่มุมพิเศษๆ ของตัวละคร (เช่น ขันๆ คันๆ) มาสื่อถึงคนอ่านได้นะครับ แนวชิคลิตก็ใช้แบบนี้เยอะเป็นพิเศษจริงๆ ด้วย

คุณมะแน่ อ่านนิยายจนคอแห้ง มิน่า วันนั้นถึงขนโซดากลับบ้านเยอะแยะนะครับ อิๆ

คุณไอเลิฟ แสดงว่าไม่ค่อยนิยมแนวบันทึกไดอารี่นะครับเนี่ย

คุณมะดี้ ขึ้นอยู่กับแนวเรื่อง แล้วก็ลักษณะการพร่ำำพรรณนาด้วย อิๆๆ ฟังดูคงต้องใช้ทักษะในการเขียนพอตัวเชียวนะครับ

คุณอรหุน เป็นนักอ่านตัวยงนะครับเนี่ย จริงด้วยที่ว่า งานเขียนคลาสสิกของไทยเราใช้มุมมองนี้กันเยอะ แต่นักอ่านรุ่นใหม่โดยทั่วไปไม่รู้จัก เพราะไม่ได้อ่านแนวนั้น พอนึกถึง ฉัน ผม ก็นึกถึงนิยายวัยรุ่นที่คนเขียนมือใหม่มากๆ (ประเภท นายหน้าใสกับยัยบ๊องแบ๊ว) ซึ่งภาพมันออกมาคนละทิศกันเหมือนกันเนอะ

คุณลุงวรบรรณของพี่มะระ ในแง่การเขียนท้าทายจริงๆ นะครับ การฉายโลกทั้งใบผ่านสายตาของคนเดียว ให้คนอ่านเข้าใจคนอื่นด้วยเนี่ย ยากจริงๆ

คุณคอปเตอร์แมนมาก นิยายรักสมัยใหม่ ไม่ค่อยเจอมุมมองนี้จริงๆ แหละครับ ถ้าคุณแมนมากสนใจนิยายอิโร จะลองเยี่ยมหลังหน้าต่างข้างประตูดูมั่งก็ได้นะครับ อิๆ
 


  คำตอบที่ 20  
 

Tethys

6 ก.พ. 55
เวลา 17:49:46
ตอบคุณพีท ...

ช่อครามเขียนแนวเรื่องรักขมๆๆ หวานๆๆ อย่างที่คุณพีทเคยเห็นนั่นแหละค่ะ

ส่วนริมหน้าต่างฯ เขียนเรื่องเด็กๆ วัยรุ่น รักสนุกๆ ปัปปี้ๆ ป่วนๆ แบบเด็กๆ

ตอนแรกตั้งใจจะส่งงานให้ริมหน้าต่างฯ ออกเป็นแนววัยรุ่น 555 แต่มันดันกลายเป็นอย่างที่บอกในกระทู้นั่นแหละค่ะ
 


  คำตอบที่ 21  
 

คุณพีทคุง

7 ก.พ. 55
เวลา 4:07:37
(ช่องนี้คุณพีทคุงแย่งนายมะโรงจัง)

อ๋อออ เข้าใจแล้วครับพี่อ้อ แสดงว่า เพลงนั้นฯ ตั้งใจให้เป็นแนววัยรุ่น ออกมาเป็นแนวโรแมนติกซีเรียสแทนนี่เอง
 




  เชิญกรอกข้อความเพื่อตั้งคำถาม  
  กรุณา login เพื่อตอบคำถาม