ตอบคำถามเพิ่ม คลิกที่นี่
 
  สวัสดีวันจันทร์ "เริ่มลงมือเขียน ต้องรู้อะไร"  
 
 

ฟีลิปดา

25 ม.ค. 64
เวลา 9:45:13

พิมพ์
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
สวัสดีวันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๔ ค่ะ
การแข่งเขียนแรลลีครั้งที่ 30 ยังเปิดลงทะเบียนอยู่นะคะ
จันทร์ที่แล้ว คุยเรื่องเริ่มเรื่องวางเค้าโครงไปแล้ว
วันนี้คุยเรื่อง การลงมือเขียนกันค่ะ

การสร้างพล็อต คิดพล็อด สร้างตัวละคร
คิดหาเหตุการณ์ ตระเวณหาสถานที่
ใดๆ ต่างๆ นานา คือ สิ่งที่อยู่เบื้องหลัง
ของเรื่อง ที่จะออกมาให้คนอ่านได้เห็น

การลงมือเขียน จึงเป็น out put
ที่จะต้องฝึกฝน ถ้าเราไม่ใช่คนบอร์นทูบี ^--^
และก็มันเป็นเรื่องเป็นไปได้ ที่ทุกคนจะเขียนเป็น

เวลาอ่านนวนิยาย เราจะเห็นการเขียนอะไรบ้าง

1. การเขียนบทสนทนา ที่เรียกได้ว่า
เป็นหัวใจหลัก ในการเขียน
- ในการเขียนสนทนา จะมีการเขียน
คำท้ายคำพูด อย่างเช่น เขาพูด เขายิ้ม
เขาคิด เธอหัวเราะ สั้นๆ
- หรือจะเป็นการคิดของตัวละครสั้นๆ
ไม่ยาว เพื่อไม่ให้คู่สนทนารอนาน ค้างเติ่ง
คนอ่านลืมไปเลยว่าคุยอะไรกัน
- กิริยาเล็กน้อยประกอบคำพูด หรืออารมณ์

2. การเขียนบรรยาย
ในนวนิยายมีการเขียนบรรยาย
- การบรรยายให้เห็นภาพ ของสถานที่
- การบรรยายหน้าตาตัวละคร เสื้อผ้าหน้าผม
- การบรรยายเรื่องราว
เรื่องราวเป็นมาอย่างไร เหมือนเป็นการสรุปเรื่อง
ให้เห็น
.....เธอตื่นแล้วเดินไปเข้าห้องน้ำ ขณะแปรงฟัน
ได้ยินเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น
- การพรรณนา โดยมากจะใช้กับการบรรยายสถานที่
แบบภาษางดงามละเอียด จะบรรยายคนก็ได้ ^--^

3. การเขียนความคิดตัวละคร
เมื่ออยู่คนเดียวตัวละครจะคิดวางแผน
คิดตรึกตรอง คิดถึงคนโน้นคนนี้
คิดบ้าบอคอแตก แก้แค้น อะไรก็ว่าไป
คิดถึงเรื่องเดิมๆ คิดไปๆๆๆ

4. การเขียนเป็นซีน
-เขียนให้เห็นว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร
เกิดอะไรขึ้น ณ จุดเวลานั้น

การจะลงมือเขียน สิ่งแรกที่จะต้องรู้คือ
จะให้ใครเป็นคนเล่าเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น
ซึ่งก็คือ การเลือกใช้ มุมมองคนเล่าเรื่อง

- ฉัน...เป็นคนเล่าเรื่อง pov 1

- คนเขียนเล่าเรื่องของเรา ให้เราฟัง pov 2
...เธอกำลังโกรธ ดังนั้นเธอจึงใช้มีดแทงเขา
...เธอเป็นอย่างนี้เพราะเธอถูกพ่อแม่ทิ้ง
เธอเดินไปบนเส้นทางเปล่าร้างด้วยความหวาดกลัว
แล้วเธอก็ล้มลงร้องไห้ ด้วยความหวาดกลัว

- pov 3
...ตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเป็นคนเล่า
ซึ่งจะเล่าได้ในสิ่งทีเขาเห็นและเขาคิด
เขารู้สึก
แต่เขาต้องไม่รู้ความคิดคนอื่น นอกจากจะคาดหมาย
หรือเป็นนักพลังจิต ทำนองนั้น

... พระเจ้าเล่าเรื่อง (ก็คนเขียนนั่นแหละ)
ก็เล่าผ่านทางตัวละครบ้าง
คนเขียนเล่าเองบ้าง (ไม่ผ่านตัวละคร)
แต่เขียนเล่าเรื่องตัวละคร ฮ่าๆๆ

ไม่งงนะ ใครงง ให้ไปอ่านในหนังสือ
100 คำถามสร้างนักเขียนเอาเอง ^--^
เพราะเล่มนี้ พูดถึง การลงมือเขียนลงไป
ค่อนข้างครอบคลุมแล้ว

คำแนะนำที่เจอบ่อย สำหรับคำถามที่ว่า
อยากจะเขียน แล้วไม่รู้จะเริ่มยังไง
ก็คงจะพอมีไอเดียแล้ว

คราวนี้มาดูว่า คำแนะนำสำหรับนักเขียนใหม่ๆ
หรือคนอยากเขียน อย่างหนึ่งที่จะได้รับเสมอก็คือ
*** อ่านให้มากๆ อ่านในแนวที่จะเขียน***
ค่ะ...ใช่ แต่ก็ต้องอ่านให้เป็น ชำแหละให้ได้ ^--^
ว่า เขาเขียนลงมาอย่างไร ให้เราได้อ่านเป็นเรื่องเป็นราว
ลองหาประเด็นที่เราอยากจะเรียนรู้ เป็นต้นว่า
- เขาเล่าเรื่องอย่างไร ตั้งแต่เปิดเรื่อง
จนจบเรื่อง เขามีประเด็นไหน เหตุการณ์อะไร
ที่เป็นตัวเริ่มต้นให้เกิดเรื่องรวตามมามากมาย
- เขาเชื่อมโยงแต่ละซีนเข้าหากันยังไง
- เขามีวิธีการเปิดเรื่อง เปิดซีนแบบไหน
- เขาใช้คำอย่างไร เรียงประโยคแบบไหน
- เขานำเสนอ ตัวละครเข้ามาในเรื่องในฉากอย่างไร
- เขาเขียนยังไง เวลามีตัวละครอยู่หลายๆ คนพร้อมกัน

จากนั้น เราก็มาลองเขียนเรื่องของเราบ้าง
การเขียน อยากจะเขียนให้เป็น
ต้องเขียนบ่อยๆ ค่ะ เขียนไปแล้วเราจะรู้ว่า
เรามีจุดอ่อนตรงไหน
รายละเอียดขั้นตอนตรงลงมือเขียนนี่
ยิ่งเขียนบ่อย จะยิ่งลื่นไหล สะสมคำไปในตัว
เพราะแค่คิดว่า เรื่องจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
แต่ไม่ลงมือ จะไม่มีวันรู้เลยว่า
...ทำไมนักเขียนบางคนจึงต้องดอง ไม่เขียนสักที
ฮ่าๆๆๆๆ พี่ฟีว่าไป

ขอให้มีความสุขในการเขียนนะคะ
ฟีลิปดา
^--^
 


  คำตอบที่ 1  
 

copter

25 ม.ค. 64
เวลา 9:56:20
55555 ไม่ดองค่ะ ไม่ดอง
 




  เชิญกรอกข้อความเพื่อตั้งคำถาม  
  กรุณา login เพื่อตอบคำถาม