ตอบคำถามเพิ่ม คลิกที่นี่
 
  ขอความคิดเห็นจากพี่ฟี,คุณพีทคุงและทุกท่านด้วยค่ะ เรื่องการส่งต้นฉบับ  
 
 

หนึ่ง

21 ธ.ค. 54
เวลา 16:20:30

พิมพ์
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
เรื่องมีอยู่ว่าไอส่งต้นฉบับไป สนพ. (ใหญ่ๆ)แห่งหนึ่งค่ะ
แล้วเขาตอบกลับมาว่าอยากให้แก้ไขเนื้อเรื่องตรงนี้ๆๆๆ นะ

เราก็ทำตาม แล้วส่งกลับไปใหม่ เขาขอให้ส่งวันที่ 15 ที่ผ่านมา
เราส่งไป วันที่ 12 แต่เขาไม่ตอบกลับอีเมลเลย

เราเลยโทรไปถาม ได้ความว่าเขาไม่ได้รับเมลของเราเลย
บอกว่าสงสัยอยู่ในจั๊งเมล (แต่เรารีเพลเมลเก่าของเขากลับไปนะ)

เราเลยบอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวเราส่งกลับไปใหม่ได้

เขาดันบอกว่า ช่วยทำไฮไลท์ ตรงที่แก้ไข มาให้ด้วยได้ไหม จะได้ไปดูได้สะดวกว่าแก้ตรงไหนไปบ้าง

ตรงนี้เราอึ้งมาก เพราะเราแก้ไปเยอะมาก แล้วของแบบนี้มันต้องบอกแต่แรกไม่ใช่หรอ บอกทีหลังก็เท่ากับว่าเราต้องนั่งดูใหม่ตั้งแต่ต้นว่าแก้อะไรไปบ้าง มันก็นานน่ะสิ

เขาบอกว่าไม่นานหรอก คุณแก้เองคุณจะไม่รู้หรอว่าแก้ตรงไหน แล้วนี่ก็จะปีใหม่แล้ว (พูดประมาณว่าต้องเสียเวลาปิดวันหยุดอีกยาว ทั้งหมดเพราะเราช้าเอง)

มาถึงตอนนี้เราโมโหมากเพราะเขาพูดเหมือน
1. เราไม่ได้แก้ต้นฉบับเองหรอ ถึงได้ไม่รู้ว่าจะไฮไลท์ตรงไหน
ซึ่งในความเป็นจริง เราไม่ได้เขียนนิยายแค่เรื่องเดียว และไม่ได้แก้นิยายแค่เรื่องเดียว เราจะจำได้หรอว่าตรงไหนบ้าง และต้นฉบับก็ไม่ใช่น้อยๆ จะได้จำได้หมด

พูดเหมือนดูถูกกันไปหน่อย

ถ้าขอให้ทำเพิ่มดีๆ ก็ว่าไปอย่าง รึเราคิดมากเกินไป?

2. ดูลักษณะแล้ว ท่าทางจะยากที่จะทำงานด้วยได้ เหมือนจุมีอะไรไม่คาดฝันโผล่มาอีก และเขาพูดว่ามันเปนความผิดของเราเอง

คำถามก็คือ เราควรจะทำยังไงคะ?
ทำไฮไลท์กลับไปให้ตามที่ต้องการ?
อีเมลไปขอถอนเรื่อง?
หรือว่าอีเมลถึง บก. บห. ขอถอนเรื่องพร้อมอธิบายเหตุผล?
 


  คำตอบที่ 1  
 

อรหันต์

21 ธ.ค. 54
เวลา 19:00:24
ผมไม่เคยส่งต้นฉบับไม่มีประสบการณ์ด้านนี้
แต่จากที่คุณเล่ามาทั้งหมด
แสดงให้เห็นว่า สำนักพิมพ์แห่งนี้ไม่มีความรับผิดชอบ
และไม่เป็นมืออาชีพ
ถ้าคิดจะร่วมงานกันต่อไปภายภาคหน้าโอกาสที่จะเกิดปัญหาตามมามีสูงครับ พิจารณาดูให้ดีครับ

จากปัญหาที่คุณสะท้อนมา แสดงให้เห็นว่า ปัญหาของวงการนักเขียนก็คือ สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยใช้สมองในการคัดสรรค์เรื่อง แต่มักจะใช้กระแสธุรกิจเป็นการตัดสินใจรับเรื่องพร้อมกับระบบการทำงานที่ห่วยแตก นักเขียนหน้าใหม่บางคนเสนอผลงานไปยังสำนักพิมพ์ที่ตัวเองมั่นใจ แต่เมื่อได้รับการปฏิบัติที่แสนงี่เง่าและห่วยแตก ผมว่ากำลังใจของเขาคงถูกบั่นทอน การที่จะสร้างสรรค์ผลงานดีขึ้นมาอีกก็หมดกำลัง ทั้งหมดเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ
 


  คำตอบที่ 2  
 

philipda

21 ธ.ค. 54
เวลา 21:06:51

สวัสดีค่ะ คุณหนึ่ง
เห็นคำถามแล้วค่ะ

พี่ฟีก็นั่งอ่านแล้วก็คิด
ประเด็น มันอยู่ตรงไหน ที่ทำให้คุณหนึ่งต้องมาถาม

นักเขียน -- เรื่องให้แก้ ไม่มีปัญหา แก้ให้แล้ว
สนพ -- ไม่ได้รับเมล
นักเขียน --- พร้อมจะส่งให้ใหม่

*** ความเห็น ...
มันไม่ใช่ความผิดพลาดทางคนเขียน
หากเมลมันจะไปอยู่ในขยะ
ซึ่งทาง สนพ ก็คงคิดว่า เขาไม่ผิดเหมือนกัน
( แต่ถ้า ที่ผ่านมาเคยมีอีเมลมันตกไปขยะ
สนพ ก็น่าจะเอาใจใส่ขยันเปิดขยะหน่อยนะ
การบอกว่า มันอาจจะตกอยู่ขยะ ไม่ควรจะเอามาเป็นข้ออ้าง
แสดงความไม่รอบคอบในการทำงานค่ะ ^--^) ***

แต่มามีปัญหาตรงให้ ...ไฮไลท์
คนเขียน - ถ้าบอกตั้งแต่ต้นก็คงไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน ย้อนกลับใหม่
สนพ - ก็คงคิดว่า คนเขียนน่าจะทำได้ง่ายๆ ไม่น่าจะยากตรงไหน

แต่ถ้า...
สนพ - บอกว่า ขอโทษที่ลืมบอก
ช่วยทำให้หน่อยได้ไหม เพื่อว่าจะได้อ่านได้ทำงานเร็วขึ้น
จะใกล้ปีใหม่แล้วจะได้เร่งให้งานเสร็จเร็วๆ

คนเขียน - คงไม่มีปัญหา จาก ประโยคนี้... "ถ้าขอให้ทำเพิ่มดีๆ ก็ว่าไปอย่าง"

ฮ่าๆๆๆๆ โดยส่วนตัวพี่ฟี คิดว่า
การสื่อสารผิดพลาด ทำให้อารมณ์เสียได้ค่ะ
ดังนั้น เฉพาะ ถ้ามีปัญหาเรื่องของการ ไฮไลท์ เฉยๆ
พี่ฟีก็คิดว่า ไฮไลท์ ส่งไปให้เถอะค่ะ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราทำให้ได้อยู่แล้ว

แต่พี่ฟีมาติดใจ ตรงที่ คุณหนึ่ง บอกว่า
"และเขาพูดว่ามันเปนความผิดของเราเอง"

*** ความเห็น ...
ใครมาว่าเราผิด หากว่าเราคิดว่าเราไม่ผิด
แสดงว่า วิธีคิด ใช้ตรรกะ คงไม่เหมือนกันค่ะ
(พี่ฟีเป็นคนไม่ชอบทำงานกับคนที่คิดไม่เหมือนกันค่ะ
มันเหนื่อย!)


..... คำแนะนำ.... ^--^
คุณหนึ่งต้องถามตัวเองค่ะว่า
จะไหวไหม หากต้องทำงานกับคนแบบนี้
จะคุยกันได้รู้เรื่องไหมในเวลาต่อไป

ให้ตรวจสอบระดับความไม่พึงพอใจ
ของคุณหนึ่งเองนะคะ ว่า
เรื่องนี้จะต้องถึงขั้นถอนเรื่องให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยไหม
และถ้าอยากถอน... ก็ถอนเลยค่ะ ^--^
(วัดระดับ ความไม่พอใจ จาก 1-10
หากมากเกิน 5 แนะนำให้ถอน ค่ะ ^--^)

ถ้าคิดว่า ยังพอไหว ก็ลองดูให้ถึงที่สุดค่ะ
เป็นนักเขียน ก็ต้องแกร่งเหมือนกัน
อย่าให้อะไรมากระทบเราได้ง่ายๆ นัก

เป็นกำลังใจให้นะคะ
พี่ฟีค่ะ
^--^
 


  คำตอบที่ 3  
 

ฮาบีบี้

21 ธ.ค. 54
เวลา 21:31:20
สวัสดีกั๊บคุณหนึ่ง ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์การส่งต้นฉบับ ฮาเลยอยากแชร์ประสบการณ์ของฮาบ้าง เป็นการแชร์ประสบการณ์เล่าสู่กันฟังแบบอบอุ่นอะกั๊บ

ฮาส่งต้นฉบับให้ สนพ. หนึ่ง ผลว่าผ่านพิจารณา แต่ทางสนพ.ขอให้ฮาปรับและเพิ่มเนื้อหาบางส่วนในนิยาย นั่นคือที่ทางสนพ.แจ้งมาในอีเมล

พอถึงวันที่สนพ.โทรมาบอกว่าอยากให้ปรับและเพิ่มเนื้อหาบางส่วนในนิยาย การพูดคุยกับผู้ช่วยบก. ก็ออกแนวไม่ค่อยรู้เรื่อง ทางสนพ.พูดรู้เรื่อง แต่ฮากำลัง งง เลยพูดไม่รู้เรื่อง ฮาเลยขอให้ทางสนพ.ส่งเมลและระบุในเมลว่าต้องการให้ปรับตรงไหนอย่างไร

ฮาเปิดเมลด้วยจบเต้นระทึกเลย เพราะกังวลอยู่แล้วว่าจะปรับนิยายได้ไหม และพอเปิดเมลมา แม่เจ้า ต้องปรับต้องเพิ่มเยอะขนาดนั้นเลยเหรอ ความรู้สึกของคนอยากเขียน ย่อมดีใจเมื่อนิยายผ่านพิจารณา แต่เมื่อถูกคำถามทาง สนพ. ถามมาและระบุในส่วนที่ฮาต้องปรับนิยายแล้ว เหมือนถูกค้อนทุบที่หัว เอิ๊ก! นั่นคืออาการของนักอยากเขียนมือใหม่อย่างฮา

ฮาแซด ฮาเศร้า ฮาเซ็ง พาลคิดไปว่านิยายฮาไม่ดีตรงไหน ทำไมต้องปรับต้องเพิ่ม จนคิดอยากถอนต้นฉบับ ก็เลยระบายความแซดให้พี่สาวคนหนึ่งที่มีประสบการณ์ด้านนี้ฟัง

พี่สาวแนะนำดีกั๊บ มันเหมือนกับทุกอย่างไม่แน่นอน ส่งต้นฉบับที่นี่แล้วผ่าน แต่เราต้องปรับนิยายเพิ่ม แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราถอนต้นฉบับแล้วส่ง สนพ. อื่น เราจะไม่ต้องปรับต้นฉบับอีก ง่ายๆ คือ พี่สาวที่ให้คำแนะนำให้ลองทำตามที่ สนพ. แนะมา เพราะเราก้าวเท้าเข้ามาเกือบครึ่งทางแล้ว โอกาสอยู่ตรงหน้าจะไม่ลองคว้าไว้หน่อยเหรอ

ฮาเลยตกลงสลัดความรู้สึกที่เหมือนค้อนทุบหัวทิ้ง แล้วลงมือปรับงานตามคำแนะนำของ สนพ. โดยมีพี่สาวคนนี้คอยบอกว่า ตรงไหนที่เราแก้แล้ว ปรับแล้วให้ทำไฮโลท์สีเหลืองไว้นะ และตรงไหนที่คำตอบของเรื่องตามที่ สนพ. ถาม ให้ทำไฮไลท์สีเขียวไว้ พอปรับเสร็จแล้วต้องระบุที่เมลด้วย ตั้งแต่คำถามที่ทาง สนพ. ถามมา และให้เราตอบใต้คำถามนั้น ว่าคำตอบที่เขาต้องหารอยู่หน้าไหน ไอไลท์สีอะไร บรรทัดที่เท่าไหร่

ปรับงานรอบแรกเสร็จ ฮาก็ส่งต้นฉบับให้ทาง สนพ. ฮานึกว่า ปรับรอบเดียวนิยายของฮาคงผ่านแล้วล่ะ แต่ไม่กี่วันก็ได้รับโทรศัพท์จากทาง สนพ. อีก ว่าเนื้อหาบางส่วนยังไม่ได้ปรับ เขาถามว่าฮาจะปรับได้ไหม ฮาก็ค่ะ แต่ขอแบบเดิมให้ทาง สนพ. ระบุส่วนที่เขาบอกว่าเรายังไม่ได้ปรับ ทาง สนพ. ก็ใจดี ส่งเมลมาอีกรอบ ทีนี้ระบุมายาวกว่ารอบแรกอีก และมี ปล. จากทาง สนพ. ห้อยมาด้วย ไม่เข้าใจตรงไหนโทรถามได้ครับ

ทั้งที่ทาง สนพ. รอเป็นที่ปรึกษาให้ฮาอยู่แล้ว แต่ด้วยความรู้สึกแซดกับการปรับนิยายยังมีอยู่ ฮาดื้อไม่ปรึกษาหรอก ทำด้วยตัวเอง โดยมีพี่สาวคนดีคอยเบรกความแซด ให้ฮากลับมามุ่งที่งาน ทุกๆ วันจะออนเอ็มคุยกับพี่สาวคนนี้ พี่สาวจะถามว่าเป็นยังไง ทำได้ไหม ตรงไหนไม่ได้ คอยถาม คอยเช็ค คอยดูให้ จนการปรับนิยายรอบ 2 ผ่านไปได้ด้วยดี

ฮาคิดว่ารอบ 2 คงเป็นรอบสุดท้ายสำหรับการปรับเนื้อหาในนิยาย 555+ ไม่กี่วันอะกั๊บ โทรศัพท์มาอีกแล้ว คราวนี้เหมือนเริ่มคุ้นเคยมากขึ้น และทาง สนพ. ก็เข้าใจในตัวฮามากขึ้น ขอให้ฮาเพิ่มที่มาที่ไปของจุดเริ่มต้นของเรื่อง ทำไมถึงเป็นแบบนี้ พี่ชายนางเอก น้องสาวนางเอกหนีไปยังไง หนีไปแล้ว แล้วพวกเขาไปอยู่ที่ไหน ทำไมพอหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย น้องสาวพระเอกถึงไม่โทรบอกพี่ชายให้รู้ว่าปลอดภัย --- นางเอกเป็นคนไม่ยอมคน โดยเฉพาะกับพระเอก แล้วทำไมกับคนอื่นถึงยอมให้ทำร้ายได้ง่ายๆ --- ตกลงพี่ชายนางเอก กับน้องสาวพระเอกลงเอยกันไหม

โห คำถามมาเป็นชุด เลยมีการพูดคุยกับ สนพ. ประมาณนี้ ( จำไม่ได้แล้วว่าพูดอะไรยังไงบ้าง รู้แต่ว่าเป็นการพูดคุยที่ดีมากๆ มีการตกลงเรื่องเวลาในการทำงาน ที่ฮาเป็นคนบอกกับทาง สนพ. ว่าขอเวลา 1 อาทิตย์ในการปรับนิยายรอบนี้

ซึ่งตลอดการทำงานในรอบที่ 3 ก็ปรับตามโจทย์ที่ทาง สนพ. ส่งเมลมาเป็นคำถาม แล้วฮาเป็นคนหาคำตอบ จนมาถึงในส่วนที่ฮาคิดจนยังไงก็คิดไม่ออก "ทำไมพอหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย น้องสาวพระเอกถึงไม่โทรบอกพี่ชายให้รู้ว่าปลอดภัย"

คำถามนี้แหละที่ทำให้ฮานั่งหาเหตุผลอยู่หลายวัน ทิ้งไว้เป็นโจทย์สุดท้ายที่ต้องแก้ จนแล้วจนรอดเมื่อคิดไม่ออก เลยโทรหา สนพ. รบกวนให้เขาช่วยตอบคำถามของฮา

ฮาถามคำถามกับคนของ สนพ. อยู่หลายคำถาม เสนอไอเดียของตัวเองในฉากที่ว่านี้ ทาง สนพ. ก็บอกว่าได้ และใจดีหาเหตุผลว่าทำไมน้องสาวพระเอกถึงไม่ควรบอกพี่ชายตัวเองว่าเธออยู่ที่ไหนเพราะอะไร การหาคำตอบในโจทย์ข้อนี้เลยผ่านไปแบบมีแต่ความรู้สึกดีๆ ประมาณว่า "ไม่น่าดื้อเลยตรู รู้งี้โทรปรึกษาทาง สนพ. ตั้งนานแล้วว่าควรทำยังไง"

แต่ถึงจะแก้โจทย์ที่ว่านี้ได้แล้ว ก็ยังเหลือส่วนที่ปรับอีก 2 ส่วน คือฉากสวีทหวานของพระ - นาง และบทส่งท้าย ที่ได้พี่ๆ ที่เว็บฟอไรต์เตอร์แนะนำว่าควรทำยังไง

สำหรับฮาการปรับนิยาย 2 รอบ หนักหนาเอาการกั๊บ เพราะตอนนั้นต้องฝึกงานวันจันทร์ - วันศุกร์ เสาร์อาทิตย์ต้องไปเรียน ทั้งรายงานและงานวิจัยที่ต้องทำส่งอาจารย์ แบ่งเวลาแทบไม่ถูกเลย นอนไม่เป็นเวลาอีกต่างหาก แต่ก็ผ่านมาได้เพราะพี่ๆ หลายคนที่ช่วยทั้งผลักทั้งดันให้ฮาเดินหน้าจนผ่านมาได้ดี

มาตอนนี้ก็เลยมีมุมมองอีกแบบว่า ถึงเขาจะขอให้ฮาปรับนิยาย แต่ฮาไม่ได้ปล่อยตัวตนของฮาให้หายไปกับนิยายที่ฮาต้องตัดแต่งเพิ่มเติม และถ้ามีการพูดคุยที่ค่อยเป็นค่อยไป ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีสักคนที่เข้าใจคนแต่งนิยาย และคนแต่งนิยายก็จะเข้าใจทาง สนพ. เช่นกัน

เป็นมุมมองส่วนตัวของฮานะกั๊บ ที่รู้สึกอย่างนี้อาจเพราะมีคนคอยให้คำแนะนำด้วย ก็ต้องขอบคุณพี่ๆ ทุกคนที่แนะตลอดว่าต้องทำยังไง เป็นห่วงว่าฮาจำได้ไหม จะพูดคุยกับ สนพ. รู้เรื่องไหม ถึงขนาดคิดคำถามให้ว่าต้องถามเขาประมาณนี้นะ เราต้องตอบประมาณนี้นะ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ฮาลืมไม่ลงกั๊บ

ประสบการณ์ของคุณหนึ่งก็เป็นอีกประสบการณ์ที่ฮาคิดว่าดีกั๊บที่มีการแบ่งปันให้พี่ๆ น้องๆ ร่วมแสดงความเห็น

- ขอบคุณกั๊บ -
 
 


  คำตอบที่ 4  
 

ฮาบีบี้

21 ธ.ค. 54
เวลา 21:33:15
เป็นกำลังใจให้คุณหนึ่งนะกั๊บ สู้ๆ กั๊บ
 
 


  คำตอบที่ 5  
 

มะนอแน่

21 ธ.ค. 54
เวลา 21:45:00
แฮ่ ยังไม่มีประสบการณ์มาแชร์
แต่มีแน่ๆ คือกำลังใจค่ะ
เครียดแล้วจะพาลเขียนไม่สนุกเอา

สู้ๆ นะคะ ^^

 


  คำตอบที่ 6  
 

คุณพีทคุง

22 ธ.ค. 54
เวลา 4:14:40
ผมไม่มีประสบการณ์เรื่องการส่งสำนักพิมพ์เลยครับ ทางไหนจะดีที่สุดก็บอกไม่ได้เหมือนกัน ถือว่าคุยแลกเปลี่ยนความเห็นความรู้สึกกันดีกว่านะครับ

ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้แยกได้เป็นสองประเด็นคือ เรื่องเนื้องาน กับเรื่องการสื่อสาร

เรื่องเนื้องาน ในฐานะที่เคยอ่านงานให้เพื่อน (แถวๆ นี้แหละ) ก็ต้องเห็นพ้องกับทางสำนักพิมพ์ว่า การไฮไลท์ส่วนที่แก้มา จะทำให้การอ่านรอบสองง่ายขึ้นเยอะจริงๆ (ตอนนั้นผมอ่านงานของเพื่อนหลายรอบมากจนรู้สึกท้องอืดไปเลย) แต่ถ้าสำนักพิมพ์ต้องการให้นักเขียนไฮไลท์ โดยปกติมารยาทก็ควรบอกก่อน ไม่งั้นนักเขียนก็ไม่มีทางเดาใจแต่ละสำนักพิมพ์ได้ ก็ย่อมส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้วประณีตเรียบร้อยตามธรรมดา

ทีนี้ถ้าจะมาบอกทีหลังเพราะลืมไปก็ไม่ว่า (หรือเพราะเพิ่งนึกได้ว่าควรไฮไลท์? แต่ก็จะแปลกๆ ไปหน่อย เพราะ บ.ก. คัดสรรงานควรจะผ่านขั้นตอนนี้มาแล้วหลายเรื่อง คงไม่ใช่เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก) แต่โดยปกติมารยาท (อีกนั่นแหละ) ก็ควรจะให้เวลานักเขียนพอสมควร เพราะไม่ว่าจะแก้เองหรือคนอื่นแก้ให้ นักเขียนก็ต้องเปิดค้นตั้งแต่ต้นเรื่องอยู่ดี เพราะบางครั้งการแก้บางประเด็นที่สำนักพิมพ์ขอให้แก้ตอนกลางเรื่อง มันอาจจะไปเปลี่ยนแปลงบางฉากตอนต้นเรื่องได้ บรรณาธิการที่ทำงานมามากก็คงจะเข้าใจเรื่องนี้ดีพอสมควร (ผมเดาเอานะครับ)

เพราะฉะนั้น ในประเด็นแรก เรื่องเนื้องาน ถ้าตกลงกันได้เรื่องระยะเวลาที่พอใจตรงกัน (จะสั้นยาวขึ้นอยู่กับความสะดวกของทั้งสองฝ่าย) ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แน่นอนว่าเป็นการทำงานเพิ่มของนักเขียน แต่ก็เป็นการทำงานเพิ่มที่คุ้มค่า เพราะ บ.ก. ที่ตาลายและปวดหัวน้อยกว่า ก็จะอารมณ์ดีและทำให้มองงานเขียนของเราอย่างพร้อมจะปลื้มมากกว่าด้วย (ถ้าตาลายมากไม่ใช่ว่าเขาจะโกรธคนเขียนหรอกนะครับ แต่บางทีอาจจะหงุดหงิดง่าย เจออะไรขัดหูขัดตานิดหน่อยก็อาจจะทำให้คะแนนติดลบได้ อิๆ)

ทีนี้มาที่เรื่องการสื่อสาร อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ เพราะนักเขียนต้องทำงานกับสำนักพิมพ์ผ่าน บ.ก. (คนเดียวและคนเดียวเท่านั้นในกรณีทั่วไป เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของ บ.ก. ที่ต้องประสานงานกับทุกฝ่าย)

ถ้าการสื่อสารไปกันไม่รอด คุยกันก็เคืองกันตั้งแต่ต้น โอกาสที่จะเคารพนับถือกันและทำงานด้วยกันอย่างชื่นมื่นไปจนตลอดรอดฝั่งก็คงหดลงไปเยอะครับ

ตรงนี้คุณหนึ่งอาจต้องประเมินเองว่าการสื่อสารระหว่างคุณหนึ่งกับคุณ บ.ก. ท่านนั้นอยู่ในข่ายประมาณไหน ถึงขั้น "ไปกันไม่รอด" หรือเปล่า หรือแค่ "ยังคุยกันไม่เข้าใจ" การประเมินก็อาจจะต้องใช้ความรู้สึกของคุณหนึ่งเองเป็นที่ตั้ง เพราะในการทำงานกันต่อไป ความรู้สึกของคุณหนึ่งนี่แหละที่จะเป็นตัวตัดสินว่าจะมีความสุขกับการทำงานร่วมกันหรือเปล่า

แต่การประเมินนี้ ขอให้ทำตอนใจเย็นๆ นะ เพราะตอนเพิ่งคุยกันเสร็จใหม่ๆ บางทีอารมณ์เรายังหงุดหงิดอยู่ อาจจะทำให้ประเมินร้ายแรงกว่าความเป็นจริงได้

เสร็จแล้วก็อาจจะต้องพิจารณาอีกแง่ คือประโยชน์ที่เราจะได้ถ้าได้พิมพ์กับสำนักพิมพ์นี้ (ขีดเส้นใต้คำว่า "นี้")

เอาสองอย่างมาชั่งน้ำหนักกันครับ (เหมือนตราชั่งโบราณ) ถ้าประโยชน์ที่เราจะได้มันสูงมาก และเราคิดว่ามันคุ้มกับความพยายามที่จะสื่อสารให้เข้าใจกันมากขึ้น เราก็คงเลือกลุยต่อ แต่ถ้าประโยชน์ที่เราจะได้มันน้อย หรือความทรมานจากการพยายามสื่อสารกันให้รู้เรื่องมันมากมายจนกลบประโยชน์เสียหมด ก็คงต้องเลือกหันไปทางอื่น (เช่น สำนักพิมพ์อื่น)

ขั้นชั่งน้ำหนักนี้เป็นขั้นที่สำคัญ ค่อยๆ คิด คิดตอนใจเย็นๆ คิดถึงเงินก้อน (จึ๊ย) คิดถึงโอกาสข้างหน้าถ้าเราได้ "เข้า" สำนักพิมพ์นี้ (เห็นบอกว่าเป็นสำนักพิมพ์ใหญ่ อาจจะดี) อย่าลืมบอกตัวเองด้วยว่า ปัญหาการสื่อสารแบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่ใช่แค่สำนักพิมพ์นี้ ถึงเราถอยจากที่นี่แล้วหันไปที่อื่น อาจจะเจอที่ดีๆ มีน้ำใจ คุยกันสบายใจ หรืออาจจะเจอคนที่แปลกประหลาดยิ่งกว่านี้เราก็ไม่มีทางรู้

ชั่งเยอะๆ นอนคิดนานๆ แล้วค่อยตัดสินใจครับ

ถ้าตัดสินใจแล้วว่าลุย ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำไฮไลท์อย่างอารมณ์ดี บอกตัวเองเวลาเซ็งๆ ว่า นี่คือการลงทุนที่ทำให้คนอ่านงานเราอารมณ์ดีและเห็นคุณค่างานของเราได้ง่ายขึ้น เวลาต้อง "พยายาม" สื่อสารกับ บ.ก. ให้เข้าใจ ก็บอกตัวเองว่านี่คือการลงทุนแรงงาน (และอารมณ์) เพื่อเป้าหมายที่เราต้องการ (ซึ่งเราคำนวณแล้วว่าคุ้ม)

แต่ถ้าตัดสินใจว่าถอย ความเห็นของผมคือ ถอยอย่างเงียบๆ ดีกว่า อย่าสร้างศัตรู เพราะคนในวงการเขามักจะรู้จักกัน และถ้าเราทำให้เขาเคือง (ต่อให้เราเป็นฝ่ายถูก) คนเคืองเขาจะไปพูดต่อยังไงก็ไม่รู้ ไม่แน่ว่าเขาจะพูดตรงทั้งหมด เราอาจจะเสียหาย แล้วคนฟังซึ่งรู้จักเขาแต่ไม่รู้จักเรา ก็ย่อมเชื่อเขามากกว่า ทำให้ชื่อเราอาจจะเป็นที่รู้จักในทางไม่ดี มีผลต่อการส่งเรื่องไปที่อื่นๆ ในอนาคตครับ (อันนี้เป็นความเห็นสำหรับนักเขียนทั่วๆ ไปอย่างพวกเราที่ยังไม่ดัง ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักนะครับ ถ้าใครที่รู้สึกว่าตัวเอง "แน่" พอก็อาจจะกล้าท้าชน แต่ผมก็ยังเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรในกรณีแบบนี้ เพราะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมาอยู่ดี)

ตอบช้าหน่อยเพราะต้องค่อยๆ เรียบเรียงความคิด หวังว่าจะไม่ช้าเกินไป และขอให้คุณหนึ่งหาทางที่ดีที่สุดเจอไวๆ ครับ

 


  คำตอบที่ 7  
 

iloverally

22 ธ.ค. 54
เวลา 20:45:29
ยังไม่มีประสบการณ์การแก้ต้นฉบับ
แต่ ถ้าเป็นนักเขียนก็คงหนีไม่พ้น
และปัญหาต่าง ๆ
ทั้งจากคน และ งาน จิปาถะ

จะสู้ หรือจะ ถอย
ทำดีที่สุดแล้วถอย
หรือ ถอยตั้งแต่ยังไม่ทำอะไร
ตัวเอง คิดแบบนี้ค่ะ
บางครั้ง สภาพจิตเราแย่ อะไรก็ไม่เอาทั้งนั้น
อยู่ที่ ตัวเรา ว่าจะ ทนได้แค่ไหน
เพราะนั้น คือ ผลงานของคุณ
จะตัดสินใจทำอะไร เราก็มีสิทธิ์
แต่ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน อย่าใจร้อน

สู้สู้ค่ะ คุณหนึ่ง คุณไอ ^^
 


  คำตอบที่ 8  
 

แตงกวา

22 ธ.ค. 54
เวลา 22:08:25
ขอมาเป็นกำลังใจด้วยอีกคนค่ะ

เรื่องของการทำงานกับอุปสรรคนั้นมันเป็นของคู่กัน
ใจเย็น ๆและสนุกกับมัน โลกนี้จะมีสีสันขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ

พี่แตงกวา
 




  เชิญกรอกข้อความเพื่อตั้งคำถาม  
  กรุณา login เพื่อตอบคำถาม