ตอบคำถามเพิ่ม คลิกที่นี่
 
  สวัสดีวันจันทร์ "ดูหนังแล้วย้อนดูการเขียนนวนิยายของเรา"  
 
 

ฟีลิปดา

22 ต.ค. 61
เวลา 11:04:26

พิมพ์
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
สวัสดีวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ ค่ะ
เดือนนี้จะหมดลงแล้ว ฮ่าๆๆ
แม้จะเหลืออีก 9 วันก็เถอะ
ถ้าเข้ามาถึงวันที่ 20 + เมื่อไหร่ ถือว่าหมดค่ะ ฮ่าๆๆๆ
เวลาผ่านเร็วจริง อ่านหนังสือ เขียนหนังสือไม่ทันเลย
ก็หมดวันแล้ว นี่ก็อาจจะต่างจากคนทำงานบริษัทนะ
ถ้าไม่สนุกกับการทำงาน เวลาก็คงผ่านไปช้า
เวลาปริมาณเท่ากัน จะเร็วจะช้า
จึงขึ้นอยู่กับใจและวิธีคิดของแต่ละคน

พวกเรามีปัญหากับเวลาที่เขียนไหม
หมายถึง เวลา ในเรื่องที่เขียนค่ะ
time lines ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง
ในนวนิยายที่เขียน มีช่วงเวลานานแค่ไหน
กว่าจะจบ คือเริ่มจากจุดของเวลาไหน แล้วไปจบที่เวลาไหน
เริ่มจากพระเอกนางเอกตอนเด็กแล้วก็โต้โตไปเป็นผู้ใหญ่
เริ่มจากฤดูร้อนไปจบฤดูหนาว หรือร้อนอีกหลายๆ รอบ
เริ่มจากวันที่นี้แล้วเจอกันรักกันอุปสรรคมากมาย
กินเวลาต่อเนื่องไปอีกห้าปีค่อยจบ ^--^
ใช้วิธีไหนในการย่นระยะเวลาในเรื่อง

- ใช้เป็นแฟลชแบคเอาเพื่อบอกเล่าข้ามเวลา
อันนี้ง่าย ใช้กันเยอะ โดยเฉพาะเรื่องนางเอกท้อง
หอบลูกหนี แล้วมาเจอพระเอกใหม่อีกรอบ

- ใช้ประโยคที่ประมาณว่า ผ่านไป 7 ปี...
เออ แล้วบทก่อนหน้าจะต้องเขียนยังไง ให้มันสอดรับกับ
คำว่า ผ่านไป.... ในบทต่อมา

- อะไรก็ช่างเถอะ เปิดไปธรรมดา นี่ล่ะ ให้รู้เลยว่า
โตๆ กันแล้ว ผ่านมาแล้ว คนอ่านรู้เรื่องก็แล้วกัน ฮ่าๆๆๆ

ที่คุยเกี่ยวกับ time lines นี่ก็คือ เมื่อวานไปดูเรื่อง
The count of Monte Cristo มาค่ะ
เรื่องนี้เคยดูมาหลายปีละ มีความอยากดูอีก
แต่ก็นั่งดูแค่ trailer ดูไปก็คิดเกี่ยวกับ timelines ของเรื่อง
ถ้าเราจะเขียนมันแบบมี รายละเอียด
และเกี่ยวพันกับช่วงเวลา เช่นต้องรอให้ลูกโต 16 ปีไรงี้
เราจะเขียนอะไร ใส่อะไรลงไปบ้าง ให้มันน่าอ่าน
ต้องใส่ Theme อะไรลงไปหากต้องเป็นการเล่าถึงตัวละครฝ่ายเดียว
รัก หักหลัง แก้แค้น ผจญภัย ปรัชญาอะไร ที่จะต้องหาใส่ลงไป
อุปสรรค ความยากแค้น ทัศนคติ แบบไหน
ที่จะหล่อหลอมตัวละครออกมา ให้เป็นผู้ชนะในที่สุด
และที่สำคัญ ทำอย่างไรคนอ่าน จะอยู่กับตัวละครได้โดยไม่เบื่อ

การนำ conflict มาให้ตัวละคร มันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
ในการเล่าเรื่อง แต่ถ้าอุปสรรคนั้น

- เราให้ตัวละครผ่านมันไปได้ง่าย มันก็เป็นเพียงความฉาบฉวย
และจะต้องหาอย่างอื่นมาโยนมาให้เขา เพียงเพื่อให้เรื่อง
มันเดินไปถึงตอนจบ ก็จะได้นวนิยายที่เดาได้ง่ายเรื่องหนึ่ง

- เราให้ตัวละครตอบโต้อย่างรุนแรง จัดจ้าน ปะทะฝีปาก
ปะทะกำลัง เราก็เพียงแต่จะได้ ความสะใจ ในเรื่องนั้น

แต่อะไรที่จะทำให้คนอ่านได้ความลุ่มลึก
ได้บางอย่างที่ต้องคิดไปตามตัวละคร
ไม่ใช่เพียงแค่ตามเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
อะไรที่จะทำให้ มันกรุ่นอยู่ในใจคนอ่าน

สร้าง conflict ให้กับตัวละครแล้ว
ไม่ใช่แค่คิดหาวิธีการแก้ปัญหาของตัวละครเท่านั้น
หรือความคิดที่มีต่อสถานการณ์นั้น
ควรที่จะใส่ อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเข้าไปด้วย
ความคับแค้นใจ ความผิดหวัง ความเจ็บปวด
ความสุข ความยินดี ความ ฯลฯ
EMOTION ใส่เข้าไปใน CONFLICT
น่าจะทำให้ ตัวละครของเรา มีความลุ่มลึกขึ้น
มีอะไรให้คนอ่านได้ติดตามมากขึ้น

ดูมาได้แล้ว คุยได้แค่นี้ค่ะ ฮ่าๆๆ
คิดว่าเรื่องนี้พี่ฟีมีหนังสือนะ
The count of Monte Cristo by Alexandre Dumas
เดี๋ยวต้องหยิบมาอ่านบ้าง
แต่ถ้าไม่มีก็ต้องหาซื้อมาดองล่ะ ฮ่าๆๆๆ

ดูหนัง หรืออ่านหนังสือ เรื่องไหนเล่มไหน
ก็มาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ
ไปเขียนกันค่ะ
ฟีลิปดา
^--^
 


  คำตอบที่ 1  
 

คุณพีทคุง

24 ต.ค. 61
เวลา 8:50:22
ไม่ได้เขียนนานจนจำไม่ได้แล้วว่าเรื่องไหนเวลาผ่านไปนานๆ มั่ง ส่วนใหญ่ผมเขียนเรื่องสั้นๆ เลยไม่ค่อยมีมั้งครับ

จุดที่ทำให้คนอ่านรู้สึกลุ่มลึกนี่ ไม่เคยเขียนเลยครับ สารภาพ ฮ่าๆๆ ทำไมเราไปเล่นอยู่กับอารมณ์เฉพาะที่ซะเยอะนะ
 


  คำตอบที่ 2  
 

copter

24 ต.ค. 61
เวลา 8:53:08
ส่วนใหญ่เขียนแบบใช้แฟลชแบค
ถ้าเขียนแบบเล่าไปเรื่อยนี่ กลัวคนอ่านไม่ลุ้นไปกับเรา 555
หลังๆ คนอ่านจะเป็นแบบขอลุ้นแต่แรกเลย
อ่านแบบเล่าปูไปเรื่อยๆ นี่ ต้องใช้ฝีมือดึงคนอ่านให้อยู่อย่างมาก

พยายามกันต่อไป
สู้โว้ยยยย
 




  เชิญกรอกข้อความเพื่อตั้งคำถาม  
  กรุณา login เพื่อตอบคำถาม