ตอบคำถามเพิ่ม คลิกที่นี่
 
  สวัสดีวันจันทร์ "พล็อตรั่ว ^--^"  
 
 

ฟีลิปดา

3 ก.ย. 61
เวลา 10:34:44

พิมพ์
แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน
สวัสดีวันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๑ ค่ะ
มาถึงเดือนกันยายนแล้ว
งานพี่ฟีช้ามาสองเดือนแล้ว
เรื่องที่ควรจบก็ยังไม่จบเสียที
พอตั้งเป้าเอาไว้ ถ้าทำไม่สำเร็จ
มันก็มาเบียดงานอื่นที่ตั้งเอาไว้เหมือนกัน
พี่ฟีตั้งใจจะทบทวนเรื่องการเขียนนวนิยาย
เขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเขียนออกมาอีกสักเล่ม ^--^
ก็เลยเริ่มอ่านทวน ที่เคยเขียนบันทึกเอาไว้
คิดอะไรได้ก็เขียนไปก่อน
ในสวัสดีวันจันทร์ ก็ใช่น้อยนะ ถ้าไปขยายความต่อ
ก็ถือว่า พี่ฟีเอามาคุยให้อีก เรื่อยๆ แล้วกัน
เจออะไรที่เคยเขียนไว้ ก็เอามาคุยให้ฟัง
อย่างวันนี้จะคุยเรื่อง จุดอ่อนของพล็อต

จุดอ่อนของพล็อตที่ดูไม่สมน้ำสมเนื้อก็อย่างเช่น
1. ทะเลาะกันมาตลอด 400 หน้า แล้วมาตกหลุมรักกัน
ที่หน้า 401 จากนั่นก็จบในหน้า 410 ฮ่าๆๆๆ
2. โห ตัวร้ายเข้มข้น ขับเคี่ยวกับพระเอกนางเอกมาตลอดทั้งเรื่อง
บทจะแพ้ ก็แพ้เอาดื้อๆ ในสิบหน้าสุดท้ายเพื่อจบเรื่อง
3. บุคลิกตัวละครเปลี่ยนแปลงก้าวกระโดด
ภายในสองสามซีน โดยไม่ได้ให้เหตุผล
4. เรื่องของตัวละครรอง ที่บางครั้งเปิดปมเอาไว้
แล้วไม่ได้ปิดปมค้างเติ่งเอาไว้ ไปอย่างอื่นเฉยเลย
(พี่สาวกับพี่เขยจะหย่ากัน นางเอกเหมือนจะเข้าไปมีส่วนร่วม
แล้วก็เตลิดไปทำอย่างอื่น ไม่ได้บอกเลยว่าหย่าไม่หย่า ฮ่าๆๆ)
5. ลืมบางอย่างที่กล่าวเอาไว้ในตอนแรกเหมือนจะสำคัญมาก
แล้วไม่ได้เอามันมาใช้ในเรื่อง เป็นการขาดความต่อเนื่อง
(เน้นมากว่านางเอกมีตาทิพย์ แต่ทั้งเรื่องเธอไม่ได้ใช้คุณสมบัตินั้นเลย
พระเอกอยากเป็นเชฟมาก แต่ทั้งเรื่อง ไม่มีซีนโชว์สิ่งนี้หรือปิดข้อสงสัยเลยว่า
ทำไมถึงได้ละเลยสิ่งนี้ไป)

ความไม่สมน้ำสมเนื้อบางสิ่งบางอย่าง ก็แก้ไขง่ายค่ะ
**** ด้วยการเอาไปไว้ในความคิด ของตัวละครแสดงให้รู้ว่า
เขาเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร ที่กระโดดมาดื้อๆ น่ะ
- สำหรับนวนิยายรักโรมานต์ควรทำได้บ่อยๆ นะคะ
เพราะสิ่งที่คนอ่านดื่มด่ำก็คือ วิธีที่พวกเขาจะแสดงความรักต่อกัน
หรือช่วงตอนเคมีของพวกเขาเข้ากันได้ดี หรือเวลาที่
ต่างสร้างความตึงเครียดให้แก่กัน
- แม้จะไม่มีฉากหวานๆ แต่คนอ่านก็ยังสื่อได้ถึง
ความรักแรงดึงดูดซึ่งกันและกันของพวกเขาค่ะ

**** หรือเป็นการกล่าวถึง ได้รับข่าวมาทำนองนั้น
**** แต่บางอย่างต้องแก้ไขด้วยการเติมซีนเข้าไปสนับสนุน
เพิ่มลงไปอีกหน่อย

เวลาเราคิดพล็อตร่างพล็อตของตัวเองขึ้นมา
ก็อย่าลืมอุดช่องว่างตรงนี้ไปด้วย ดูแต่ละเส้นเรื่องว่า
จะเริ่มยังไง จะให้ไขว้กันตรงไหน ขนานกันไปอย่างไร
จังหวะการเล่าเรื่องนี่สำคัญค่ะ
บางคนใส่ความไร้เหตุผล ความใจร้อนใจเร็วของตัวละคร
ไปเป็นหลายๆ หน้า จนคนอ่าน สรุปในใจว่า ตัวละครเป็นอย่างไร
แล้ว จะเตรียมสร้างเหตุการณ์อื่นเพื่อนเปลี่ยนแปลงเขา
บางทีก็ไม่ทันการค่ะ ใจคนอ่านรับไม่ได้ไปก่อนแล้ว ฮ่าๆๆๆ

หรือถ้าใครเขียนเสร็จร่างแรกแล้ว เวลาที่ต้องอ่านทบทวน
เพื่อจะแก้ ตัด แต่ง ต่อเติม อะไร ก็ให้มองภาพรวมทั้งหมดก่อน
อ่านไปตรงไหนที่คิดว่าจะต้องแก้ ให้เขียนคร่าวๆ เอาไว้
เผื่อไปเจอข้างหน้าที่ต้องแก้อีก มันจะได้สอดคล้องกัน
เพราะบางครั้ง แก้จุดเดียวมันอาจจะลามไปทั้งหมด
เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวโน่น ^--^
ส่วนอันจะเติม ก็ดูจังหวะการเติมด้วยค่ะว่า
ควรจะเติมตรงไหน มันถึงจะทำให้จังหวะมันดีที่สุด
ทำให้ซีนมันได้อารมณ์ต่อเนื่องกันไปด้วย

การเล่าเรื่อง มันก็ต้องมีจังหวะ มีท่วงทำนองอยู่
ก็ลองดูนะคะว่า เราให้เรื่องของเราออกมาเป็นยังไง
อารมณ์ของเรื่อง เป็น บวก เป็น ลบ
กระจายกันอย่างสมดุล หรือเป็นกระจุก
อย่าเพลินขยี้ดราม่า จนเสียสมดุลกู่ไม่กลับ
อย่าเพลินให้ตัวละครสบาย จนเสียสมดุลน้ำท่ามากมาย
อยากรู้ว่าเรื่องตัวเองเป็นแบบไหน
ก็ลองใช้ตัวอักษรสีๆ แทนพล็อตที่วางไว้นะคะ
สีแดงแทนอารมณ์เริงรื่น สีดำแทนกำลังมีปัญหา
สีเทา กำลังจะก้าวเข้าไปเจอปัญหา
ฮ่าๆๆ ก็ว่ากันไป สุดท้ายก็คือเขียนให้มันจบค่ะ

ขอให้มีความสุขในการคิดค้นเทคนิก
ในการเล่าเรื่องของตัวเองนะคะ
เป็นกำลังใจค่ะ
ฟีลิปดา
^--^
 


  คำตอบที่ 1  
 

มะนอแน่

3 ก.ย. 61
เวลา 11:36:22
กลับเข้าท่า ขึ้นฝั่ง เขียนให้จบ เย้ๆ
 


  คำตอบที่ 2  
 

copter

3 ก.ย. 61
เวลา 18:12:57
ขอบคุณค่ะ พี่ฟี
เราก็หาเทคนิกของเราต่อไป
เขียนยังไงให้จบ 5555
 


  คำตอบที่ 3  
 

คุณพีทคุง

5 ก.ย. 61
เวลา 11:51:47
ข้อ 4 กับ 5 นี่ มีลุ้นมากกกกกก อารมณ์ลืมครอบงำเลยครับ
 


  คำตอบที่ 4  
 

แครอทสีส้ม

25 ก.ย. 61
เวลา 17:01:55
ชอบเทคนิค การใช้ปากกาสีๆบอกอารมณ์ของช่วงของเรื่อง ขอบคุณนะคะ พี่ฟี
 




  เชิญกรอกข้อความเพื่อตั้งคำถาม  
  กรุณา login เพื่อตอบคำถาม