พล็อตเป็นเส้นทางการเดินเรื่อง การวางเหตุการณ์
นวนิยายแต่ละเรื่อง มีวิธีวางเหตุการณ์ไปตามความพอใจ
ตามความถนัดของคนเขียน
แต่ไม่ว่าพล็อตของคุณจะอยู่ในรูปแบบไหน
สิ่งสำคัญคือ ...
ความเข้าใจได้ง่ายของคนอ่าน
เราคงไม่ต้องการให้คนอ่าน อ่านแล้วสรุปว่า ... ไม่รู้เรื่อง
|
|
|
ถือเป็นพล็อตคลาสสิค เห็นบ่อย ตอนแรกก็เกริ่นนำ เข้าสู้เรื่อง ลากไปถึง
ไคล์แมก คลี่คลายปัญหาได้ จบ
|
|
|
ถ้าเป็นเรื่องการเดินทางผจญภัยละก้อ นิยมพล็อตแบบนี้ ตัวละครไปพบกับเรื่องราวสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป แล้วก็แก้ปัญหาเป็นเรื่อง ๆ จากนั้นก็เตรียมตัวรับการผจญภัยใหม่ไปเรื่อยๆ
|
|
|
พล็อตรูปนี้ ตัวละครสำคัญสองตัว ต่างมีพล็อตย่อยของตัวเอง ดำเนินเรื่องโดยกล่าวถึงตัวละคร
สองนี้สลับกันไปมาจนถึง
จุดไคล์แมกพบกันแล้วก็จบจะแต่งพล็อตแบบนี้ให้ดึงดูดความสนใจต้องเก่งมาก
(ดูจากเพชรพระอุมาตอนจอมพรานและมงกุฎไพร )
|
|
|
พล็อตนี้มักจะเป็นในเรื่องสืบสวนสอบสวน
ที่มักจะวกกลับมาเริ่มต้นใหม่ เพราะการสืบสวนผิดทาง หรือผู้ต้องสงสัยที่คิดว่าใช่ เกิดตายลง หรือได้ข้อมูลใหม่
จึงสร้างความซับซ้อนและคาดเดาได้ยากว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
ในตอนจบ
|
|
|
ถ้าเขียนเป็นเรื่องบันทึกการเดินทางเรื่อย ๆ หรือเขียนแบบส่องไฟเดินตามตัวละครตัวหนึ่งว่าเขาทำอะไร
ในแต่ละวัน ก็มักจะเห็นในรูปแบบนี้
|
|
อีกครั้งที่จะบอกว่าไม่มีกฎตายตัวในการเขียนพล็อต
คุณจะเลือกแบบไหนก็ได้ หรือเอาทั้งหมดมารวมกันก็ได้
หรือจะวาดมันขึ้นมาใหม่ในแบบที่คุณ ต้องการก็ได้
หากคุณสนุกไปกับมัน แนวโน้มที่คนอ่านจะสนุกไปด้วยก็มีเยอะ
แต่หากคุณเองยังมั่ว ก็ไม่เอ่ยถึงคนอ่านแล้ว
|
ฟีลิปดา
๒๙ มีนาคม ๒๕๔๘ |
|